วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความสำคัญของอดีตต่อการศึกษาประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส 4.1

เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.1.1
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และตระหนักถึงความสำคัญในความต่อเนื่องของเวลา
สาระการเรียนรู้
ความสำคัญของอดีตต่อการศึกษาประวัติศาสตร์

การศึกษาอดีต
อดีตที่ประวัติศาสตร์ศึกษา ก็คือ อดีตของมนุษย์หรือมนุษย์เป็นศูนย์กลางการศึกษา ประวัติศาสตร์ว่ามีกำเนิดมาอย่างไร ได้ทำอะไรไว้บ้าง และเพราะอะไรจึงทำให้เป็นเช่นนั้น อดีตที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางการศึกษาประวัติศาสตร์ต้องเป็นอดีตที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์จำนวนมากด้วย เหตุผลที่ประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญที่จำนวน ทำให้เนื้อหาของประวัติศาสตร์มักเกี่ยวข้องกับชีวิตคนจำนวนมากเสนอ เช่น รัฐบาล กฎหมาย ศาสนา การเก็บภาษี การศึกษา การค้า กบฏ ฯลฯ เพราะความเคลื่อนไหวและสถาบันทางสังคมเกี่ยวพันกับคนจำนวนมาก
ตามปกติการแบ่งเวลานั้นแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ อดีต ปัจจุบันและอนาคต อดีตคือเวลาที่ผ่านไปแล้ว อนาคตคือเวลาที่ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันนั้นสั้นมาก เช่น ขณะที่ท้องฟ้ามีนกบินผ่านมาฝูงหนึ่งเมื่อเราบอกข้อความแก่เพื่อนเรา นกฝูงนั้นก็บินไปหมดแล้ว เหตุการณ์ที่บอกเพื่อนที่ได้เกิดขึ้นแล้วหรือเกิดในเวลาที่ล่วงไปมากแล้วก็นับว่าเป็นอดีต ดังนั้นปัจจุบันจึงสั้นมากจนเกือบไม่เหลือยู่เลย สิ่งที่เราพูดถึงส่วนใหญ่ในชีวิตนั้นเป็นอดีตทั้งสิ้น อดีตจึงครอบงำความคิดและความรู้ของเราอย่างกว้างขวางลึกซึ้งยิ่ง
    การศึกษาของสังคมมนุษย์ในทางประวัติศาสตร์จึงมุ่งสนใจไปที่ความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือสังคมหนึ่ง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงท่ามกลางเวลามาอย่างไร ทำนองเดียวกันคำว่ายุคสมัยในทางประวัติศาสตร์จึงหมายถึงช่วงเวลาที่กำหนดได้ด้วยศักราชเริ่มต้นและลงท้าย ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่แวดล้อมสังคมหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลา อดีตของสังคมมนุษย์มีความน่าสนใจโดยมองจากมิติเวลา หรือยุคสมัยประวัติศาสตร์ทำให้เราได้รู้ว่าลักษณะเฉพาะของสังคมได้พัฒนาบนพื้นฐานของอะไร คำว่าการพัฒนานัยสำคัญของคำนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และมีความก้าวหน้าขึ้น ในปัจจุบัน มนุษย์มีความผูกพันและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด พื้นฐานความรู้และความเข้าใจทางประวัติศาสตร์จากรากฐานความสำคัญของการเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจึงเกี่ยวพันและเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    ดังนั้นประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวสำคัญต่าง ๆ ในอดีตจากลายลักษณ์อักษรที่สามารถแปลความหมายได้ เกิดจากกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำสู่การตอบสนองจุดมุ่งหมายบางประการอย่างมีระบบ โดยมีอิทธิพลของค่านิยมและสังคมในแต่ละช่วงเวลาเป็นตัวกำหนด เมื่อเราเข้าใจอดีตสมรถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อจะได้ป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดิมอีก หรือสามารถนำเหตุการณ์ในอดีตมาเป็นแนวทางแก้ปัญหาสภาพสังคมปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นการจัดระบบข้อเท็จจริงจากหลักฐานให้สัมพันธ์กับติของเวลา เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาต่าง ๆ เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยจึงมีการแบ่งอย่างเป็นระบบ
ระบบศักราชที่สำคัญของโลก
    ระบบศักราชที่ใช้ในสังคมต่าง ๆ ในยุคเก่ามีมากมาย แต่ละระบบศักราชเกิดจากการคำนวณทางโหราศาสตร์ การใช้รัชสมัยของพระมหากษัตริย์ หรือการใช้ศาสนกาลอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ในปัจจุบันทุกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของชาติตะวันตก แต่สังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมที่มีรากฐานอยู่ในอดีต และล้วนเป็นสังคมที่ติดอยู่กับพิธีกรรมและศาสนหลัก ดังนั้นศักราชที่สำคัญของโลกหลายระบบจึงยังคงมีบทบาทอยู่เหมือนเดิมในชีวิตประจำวัน
ระบบศักราชของโลกตะวันตก
สมัยก่อนใช้คริสต์ศักราช
    ก่อนที่คริสต์ศักราชจะกลายเป็นมาตรฐานของระบบปฏิทินในโลกตะวันตกนั้น ชาวตะวันตกได้รับอิทธิพลของระบบปฏิทินหรือการนับช่วงเวลาจากหลายอารยธรรมโบราณด้วยกัน โดยเฉพาะจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น สุเมเรียน บาบิโลเนียน อียิปต์ กรีก และยิว เป็นต้น อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่ได้รับก็คือ การให้ความสำคัญต่อการใช้สัปดาห์ ซึ่งมี 7 วัน หรือการวางระบบศักราชโดยเอาปีกำเนิดตามพระคัมภีร์เก่าของลัทธิยูดาห์เป็นปีเริ่มต้น
    ศักราชของของพวกยิวนั้นเรียกว่า ศักราชโลก นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา นักบวชยิวที่เรียกว่า รับไบ ได้เริ่มคำนวณวันที่พระเจ้าสร้างโลกเสร็จเพื่อจะกำหนดศักราชของตนเอง แต่ตอนนั้นหาข้อตกลงกันไม่ได้ว่าควรเป็น 3762 หรือ 3758 ปีก่อนคริสต์ศักราชกันแน่ ต่อมาเชื่อตรงกันว่า วันกำเนิดของโลกตรงกับวันที่ 7 เดือนตุลาคม 3761 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือเมื่อ 5713 ปีมาแล้ว
    ปฏิทินของโลกตะวันตกใช้ทั้งระบบปีสุริยคติไปพร้อมกับปีทางจันทรคติ การนับปีหรือขึ้นต้นปีในแต่ละสถานที่ยึดถือต่างกันออกไป เช่น นครรัฐเอเธนส์ เริ่มต้นปีใหม่เมื่อเดือนเพ็ญแรกหลัง Summer Solstice หรือกลางฤดูร้อน (21 มิถุนายน) ไปแล้ว ขณะที่รัฐกรีกอื่น ๆ อาจถือประเพณีอื่น ๆ ปฏิทินของโลกตะวันตกพัฒนามาจากปฏิทินของโรมันโบราณ เพราะผู้ปกครองอาณาจักรมีอำนาจทางการเมืองกว้างขวางตามตำนานที่เล่าขานกัน โรมุรส ปฐมกษัตริย์สร้างกรุงโรมได้ทรงตั้งศักราชขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 738 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยนำรูปแบบที่ชาวกรีกใช้ ซึ่งชาวกรีกได้รับอิทธิพลจากบาบิโลเนียอีกทอดหนึ่ง
    ปฏิทินโรมันดั้งเดิมดูเหมือนมีเพียง 10 เดือน และปีหนึ่งมีเพียง 304 วัน โดยไม่สนใจวันที่หายไป 61 ¼ วัน ซึ่งตรงกับช่วงเวลาฤกูหนาว ส่วนชื่อเรียกเดือนก็มีเพียง 10 ชื่อ คือ Martius, Aprilis, Maius, Janlius, Fquintilis, September, Sextilis, October, November และ December ชื่อ 6 เดือนสุดท้ายใช้ภาษาละตินที่บอกลำดับตั้งแต่ 5 ถึง 10 ในชั้นต่อมาผู้ปกครองกรุงโรมชื่อ นูมา ปอม ปิริอุส (Numa Pompilius) ได้ให้เพิ่มเดือน January เข้าที่ต้นปี เดือน February เข้าที่ปลายปีของปฏิทิน เพื่อให้ครบ 12 เดือน ต่อมาเมือ่ปี 452 ก่อนคริสต์ศักราชมีประกาศย้ายเดือน February มาอยู่ระหว่าง January และ March
    ในปี 46 ก่อนคริสต์ศักราช จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้ปฏิรูประบบปฏิทินทั้งหมดโดยเรียกว่า ปฏิทินจูเลียน ซึ่งใช้ปีสุริยคติเป็นเกณฑ์ โดยถือว่าปีหนึ่งยาวนาน 365.25 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน เดือนหนึ่งมี 30 หรือ 31 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งมี 28 วันในกรณีปกติ และมี 29 วันในทุกปีที่ 4 ปฏิทินจูเลียนนำมาใช้อย่างกว้างขวางก่อน ค.ศ. 8
    ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 สันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงได้ประกาศใช้ปฏิทินใหม่ใน ค.ศ. 1582 โดยปรับปฏิทินให้สอดคล้องกับฤดูกาลตามที่ปเนจริง ซึ่งเลื่อนวันให้เร็วขึ้น 10 วัน ปฏิทินใหม่นี้เรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรียน ผลการปฏิบัติครั้งนี้ทำให้ปีสุริยคติโดยเฉลี่ยมี 365.2425 วัน หลักการของปฏิทินระบบใหม่แตกต่างจากเดิม คือ จะไม่เติมอธิกสุรทินแค่เดือนกุมภาพันธ์ของปีถ้วนร้อย ยกเว้นแต่ปีถ้วนร้อยนั้นจะหารด้วย 400 ได้ลงตัว ปีที่หารลงตัวในอนาคตถือเป็นปีปกติ ทำให้ปฏิทินคลาดเคลื่อน จากควรเป็นจริงเพียง 1 วัน เมื่อไปถึงปี ค.ศ. 20000
    ปฏิทินเกรกอเรียนได้รับการยอมรับจากนครรัฐอิตาเลียนในโปรตุเกศ สเปน แคว้นใน ค.ศ. 1669 ประเทศอื่น ๆ ได้ใช้ปฏิทินเกรกอเรียน เช่น อังกฤษ และอาณานิคม ค.ศ. 1752 สวีเดนใน ค.ศ. 1753 ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1873 จีนใน ค.ศ. 1912 สหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1918 และกรีซใน ค.ศ. 1923

                                             แบบทดสอบ
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวลงในกระดาษคำตอบ
1. อดีตที่ประวัติศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด
    ก. พื้นฐานความเป็นเหตุเป็นผล
    ข. อดีตของมนุษย์หรือความเป็นมาของมนุษย์จำนวนมาก
    ค. ความสัมพันธ์ระหว่างยุคสมัย
    ง. ความสำคัญจากสิ่งที่ทำให้เป็นเช่นนั้น
2. การแบ่งเวลาออกได้อย่างไรบ้าง
    ก. อดีต อนาคต          ข. ช่วงเวลา ยุคสมัย
    ค. ปัจจุบัน อนาคต     ง. อดีต ปัจจุบัน อนาคต
3. สิ่งที่มนุษย์พูดถึงส่วนใหญ่ในชีวิตนั้นได้แก่อะไร
    ก. อดีต                      ข. อนาคต
    ค. กระแสนิยม            ง. ค่านิยม
4. สิ่งที่ได้ทราบจากประวัติศาสตร์คืออะไร
    ก. พื้นฐานเวลา          ข. ลักษณะเฉพาะของสังคม
    ค. การพัฒนา             ง. การเปลี่ยนแปลง
5. การศึกษาเรื่องราวที่สำคัญต่าง ๆ จากอดีตเกี่ยวข้องกับวิชาใด
    ก. ภูมิรัฐศาสตร์         ข. ภูมิศาสตร์
    ค. ประวัติศาสตร์        ง. สังคมศาสตร์
6. สิ่งที่ป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดิมอีกนั้นควรทำเช่นใด
    ก. นำเหตุการณ์ในอดีตมาแก้ไขปัญหาสภาพสังคมปัจจุบัน
    ข. พิจารณาเหตุการณ์อย่างวิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน
    ค. การตอบสนองจุดมุ่งหมายอย่างมีระบบ
    ง. สัมพันธ์กับมิติทุกแง่ทุกมุมเสียก่อนกระทำ
7. ศักราชกลางในการติดต่อสื่อสารกันคือ ศักราชใด
    ก. จุลศักราช              ข. พุทธศักราช
    ค. คริสต์ศักราช          ง. ฮิจเลาะห์ศักราช
8. อิทธิพลของระบบปฏิทินของโลกตะวันตกก่อนระบบคริสต์ศักราชได้รับจากบริเวณใด
    ก. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ข. เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
    ค. เอเชียตะวันออก                ง. เอเชียใต้
9. ศักราชที่รูปแบบชาวกรีกใช้ได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรใด
    ก. โรมัน                      ข. สุเมเรียน
    ค. อัคคาเดียน             ง. บาบิโลเนีย
10. ปีหลังการประสูติกาลของพระเยซูเรียกว่าอะไร
    ก. Before Christ          ข. Easter Day
    ค. Anno Domini          ง. Ab urbis Condita

วิธีการทางประวัติศาสตร์

มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.1.2

เข้าใจวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบและสามารถใช้ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์
สาระการเรียนรู้
วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์

    วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ให้ตรงกับสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด ซึ่งมีขั้นตอน 4 ขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดหัวเรื่องและการรวบรวมข้อมูล
    นับเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการศึกษา การกำหนดหัวเรื่องควรมีการกระชับ ช่วงเวลาไม่กว้างเกินไป เพื่อสะดวกในการศึกษา เพื่อตอบคำถามที่ผู้ศึกษามีความสนในอีกทั้งความหลากหลายของแหล่งข้อมูลและต้องคอยติดตามหลักฐานที่อาจมีการค้นพบใหม่ หรือการตีความใหม่อยู่เสมอของหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ที่มีทั้งลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับแหล่งข้อมูลที่สำคัญคือ ห้องสมุด พิพิธภัณฑสถาน แหล่งโบราณคดี ฐานข้อมูล หรือเว็บไซด์ (Website) ในเครื่องคอมพิวเตอร์
    การรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้องเพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
2. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน แบ่งออกได้ดังนี้
    2.1 การวิพากษ์หรือประเมินคุณค่าจากภายนอก เป็นการประเมินจากหลักฐานนั้นว่าเป็นของจริงหรือของปลอม โดยอาศัยวิธีการพิจารณาเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น การตรวจสอบหาข้อบกพร่องของข้อความในหลักฐานซึ่งอาจคัดลอกหรือแปลความหมายที่ผิดพลาด โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ หรืออาจพิจารณาจากใครเป็นผู้เขียน เขียนขึ้นเมื่อใด เขียนเพื่อวัตถุประสงค์ใด
    2.2 การวิพากษ์หรือประเมินคุณค่าจากภายใน เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน ซึ่งผู้ศึกษาตระหนักว่าบางอย่างอาจไม่ได้บอกความจริงไว้ทั้งหมด จึงต้องวิเคราะห์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงเจตนาและความมุ่งหมายที่แท้จริงของหลักฐาน โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
        - การใช้สำนวนภาษาของผู้เขียนเรื่องนั้น ๆ ว่าผู้เขียนยกย่องตนเอง หรือใช้หลักฐานประเภทรายงานของทางการ ซึ่งจะอ้างความสำเร็จมากกว่าความบกพร่อง ซึ่งผู้ศึกษาต้องตระหนักว่าหลักฐานนั้นไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด
        - ถ้าเขียนขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความน่าเชื่อถือจะมีมากกว่าเขียนขึ้นทีหลังเหตุการณ์เป็นเวลานาน
        - เกี่ยวกับตัวผู้เขียนว่าเป็นใคร เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก็น่าจะเชื่อถือมากกว่าผู้ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
        - สอดคล้องกับหลักฐานอื่นหรือไม่ ถ้าสอดคล้องก็มีความน่าเชื่อถือ ถ้าขัดแย้งไม่ตรงกันความน่าเชื่อถือก็จะลดลง
    การวิพากษ์ หรือการประเมินของหลักฐานด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ทั้งภายนอกและภายในสามารถกระทำพร้อมกันได้ ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลาการศึกษา
3. การตีความหลักฐาน
    การตีความหลักฐาน ประกอบด้วย การแปลความหมาย การวิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น โดยตีความผู้เขียนให้ข้อมูลหรือข้อสนเทศอะไรแก่ผู้อ่าน มีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นอย่างไร มีข้อมูลแอบแฝงที่ต้องการจะเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง การตีความนี้ผู้ตีความจะต้องกระทำอย่างเป็นกลาง ไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัว ไม่ใช้มาตรฐานปัจจุบันไปประเมินเหตุการณ์ เพราะอดีตกับปัจจุบันมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้การตีความขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ ความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต ย่อมสามารถวิเคราะห์หลักฐานได้ดีกว่า โดยมีข้อพิจารณาจากการใช้ถ้อยคำ การใช้สำนวนโวหาร การตีความหลักฐาน อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การตีความในแนวดิ่ง เป็นการตีความประเด็นปัญหาแต่ละเรื่อง โดยไม่ยึดตามลำดับเวลาก่อนหลัง
2. การตีความในแนวราบ เป็นการตีความโดยยึดลำดับความต่อเนื่องของเวลา ไม่ได้สนใจที่จะหาสาเหตุของเหตุการณ์นั้น ๆ
4. การสังเคราะห์หลักฐาน
    การสังเคราะห์หลักฐาน เป็นขั้นตอนที่จะต้องเรียบเรียงเรื่อง ผสมผสานกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์และตีความตามหลักฐาน โดยเป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัย ตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น การสังเคราะห์ หรือการรวมเข้าด้วยกันเป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โยอธิบายถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นและผลกระทบ หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ข้อควรคำนึงในการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์หลักฐาน ได้แก่ การนำความงามทางวรรณศิลป์มาประกอบเขียนอธิบายความ มีความต่อเนื่องสมดุล และเป็นเอกภาพ เที่ยงธรรมเป็นกลางในการอธิบายเนื้อหาของข้อเท็จจริงที่ได้
ความสำคัญของหลักฐาน
    จากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งสองประเภทสามารถใช้ข้อมูลของหลักฐานชั้นต้นและชั้นรอง ในการศึกษาค้นคว้าจะต้องมีการตรวจสอบและประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานนั้น ๆ เสียก่อน เนื่องจากอาจคลาดเคลื่อนและบิดเบือนไปจากความจริง ฉะนั้น ความสำคัญของหลักฐานประวัติศาสตร์ไทยจากข้อมูลต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อของคนไทยสมัยก่อนด้วย จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะช่วยกันเก็บรักษาหลักฐานไว้ให้ดี และสืบค้นว่าเก็บไว้ที่ใดอีกหรือไม่ เพื่อจะได้ค้นคว้าเผยแพร่ อันจะทำให้ประวัติศาสตร์มีความชัดเจน ถูกต้องมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
องค์ความรู้ใหม่ของประวัติศาสตร์ไทยและสากล
    การสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือการยืนยันความรู้ ความรู้เดิมว่ามีความถูกต้องแล้วโดยความรู้ใหม่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ ได้แก่
1. เกิดจากการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลเดิมที่เคยใช้กันมาแล้ว โดยที่ผู้ศึกษาเห็นว่าน่าจะตีความในลักษณะที่แตกต่างจากข้อมูลเดิม
2. เป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยทราบมาก่อน โดยการค้นคว้าข้อมูลหรือหลักฐานใหม่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ประกอบด้วยข้อมูลของต่างชาติที่กล่าวถึงเรื่องราวของอีกชาติหนึ่งที่มีการติดต่อกัน เป็นต้น
การศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
    การศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบสากลมักใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ รูปแบบการศึกษามักเป็นลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มีการกำหนดเป้าหมายหรือสมมุติฐานเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องศึกษาแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อการแสวงหาข้อมูลที่หลากหลาย และแตกต่างกัน เมื่อรวบรวมข้อมูลได้มากที่สุดแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐาน เพื่อคัดเลือกหาความน่าเชื่อถือ และนำไปสู่การตีความหลักฐาน แล้วสังเคราะห์ประมวลมาในลักษณะข้อเท็จจริง หรือข้อคิดจากเรื่องที่ได้ศึกษา ซึ่งต้องคำนึงถึงการสื่อสารแก่ผู้อ่านทั่วไป
    เนื่องจากงานวิจัยทางประวัติศาสตร์มีคุณค่า ผู้ศึกษาจะได้ประโยชน์จากงานอย่างมาก เพราะจะทำให้เห็นถึงความต่อเนื่องของความคิด ความเปลี่ยนแปลง การต่อสู้ ในสิ่งที่ทำในปัจจุบันกับอดีตที่จะเป็นประโยชน์ให้ก้าวต่อไปสู่อนาคต
    องค์ความรู้ใหม่ทางการศึกษาประวัติศาสตร์กับการพัฒนาใช้ประวัติศาสตร์ด้านอื่น ๆ โดยให้ตอบสนองความต้องการของสังคม และปลูกฝังสิ่งที่สังคมไทยต้องการ อันได้แก่ ความมีน้ำใจ การเสียสละ การรักในสันติ และความภาคภูมิใจในตนเอง วิธีการสอนประวัติศาสตร์จึงควรนำความขัดแย้งต่าง ๆ มาหาข้อสรุป วิเคราะห์ วิจารณ์ อย่างมีเหตุผล
    สำหรับตัวอย่างการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย จะขอยกตัวอย่างในสมัยอยุธยา ประเด็นที่ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ที่สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ กรณีพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มักจะเริ่มด้วยทรงเป็นนักรบ แต่ทรงเป็นนักรบอย่างเดียวหรืออย่างไร ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านอื่นบ้างไหม เมื่อเกิดข้อสงสัยจะทำให้สามารถกำหนดหัวข้อที่จะศึกษาได้และทำการค้นคว้าข้อมูล โดยข้อมูลที่สำคัญ คือ พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงให้ความสำคัญแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในฐานะนักรบมาก
    ส่วนหนังสือสำคัญอีกเล่มหนึ่ง คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 400 ปี ของการครองราชย์ที่มี รศ. วุฒิชัย มูลศิลป์ เป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้เป็นผลการอภิปรายของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2533 ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายทั้งของไทยและต่างประเทศ จีน สเปน ฮอลันดา ที่กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ข้อมูลที่ค้นคว้ามาได้จะต้องนำมาผ่านการวิเคราะห์เลือกสรรความน่าเชื่อถือ โดยทั่วไปแล้วจะเชื่อถือได้มากเพราะเป็นข้อมูลร่วมสมัย และได้รับรู้เหตุการณ์ในเวลานั้น ส่วนการนำเสนอซึ่งสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้หลายประการ เช่น พระองค์มิได้ทรงเป็นนักรบแต่เพียงอย่างเดียว ยังทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทรงกระชับความสัมพันธ์กับจีน โดยทรงแสนอจะช่วยจีนสู้รบกับญี่ปุ่น
    จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ใหม่สามารถศึกษาค้นคว้าจากหลายแหล่ง และมีความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์อีกหลายเรื่อง โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

                                               แบบทดสอบ
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวลงในกระดาษคำตอบ
1. เรื่องราวของมนุษย์ที่ตรงกับสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือวิธีการใด
    ก. วิธีการทางวิทยาศาสตร์สังคม    ข. วิธีการทางสังคมวิทยา
    ค. วิธีการทางสังคมศาสตร์             ง. วิธีการทางประวัติศาสตร์
2. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร
    ก. การรวบรวมข้อมูล การประเมินคุณค่าหลักฐาน การตีความหลักฐาน การสังเคราะห์หลักฐาน
    ข. การประเมินคุณค่าหลักฐาน การรวบรวมข้อมูล การตีความหลักฐาน
    ค. การตีความหลักฐาน การสังเคราะห์หลักฐาน การรวบรวมข้อมูล
    ง. การสังเคราะห์หลักฐาน การประเมินคุณค่าหลักฐาน การรวบรวมข้อมูล
3. กระบวนการสำคัญที่สุดในการผลิตงานเขียนทางประวัติศาสตร์คือข้อใด
    ก. การตั้งชื่อสมมติฐาน                  ข. การวางเค้าโครงเรื่อง
    ค. การรวบรวมและคัดเลือกข้อมูล  ง. การตีความหาความสัมพันธ์ของเหตุการณ์
4. ดำและแดงใช้ข้อมูลเดียวกันในการเขียนรายงานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏว่าผลงานเขียนของดำมีคุณค่ามากกว่าแดง ความแตกต่างนี้สาเหตุสำคัญมาจากข้อใด
    ก. การจัดระบบข้อมูล                    ข. การคัดเลือกข้อมูล
    ค. การตรวจสอบข้อมูล                 ง. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์เริ่มจากลักษณะข้อใด
    ก. พงศาวดาร ตำนาน ประวัติศาสตร์
    ข. พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ ตำนาน
    ค. ตำนาน ประวัติศาสตร์ พงศาวดาร
    ง. ตำนาน พงศาวดาร ประวัติศาสตร์
6. เป้าหมายที่ต้องการศึกษาขั้นตอนแรกที่สำคัญคืออะไร
    ก. การรวบรวมข้อมูล                     ข. การประเมินคุณค่า
    ค. การตีความตามหลักฐาน           ง. การสังเคราะห์หลักฐาน
7. การรวบรวมข้อมูลที่ดีควรกระทำอย่างไร
    ก. การเปรียบเทียบหลักฐานอื่น
    ข. บันทึกรายละเอียดข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์
    ค. การวิจารณ์แสดงความคิดเห็นโดยให้ข้อมูลสนเทศแก่ผู้อ่าน
    ง. การผสมผสานอย่างเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูล
8. การตีความในแนวดิ่ง หมายความว่าอย่างไร
    ก. การตีความโดยการวิเคราะห์หลักฐานที่กว้าง
    ข. การตีความด้วยความรอบคอบ ช่างสังเกต
    ค. การตีความปัญหาแต่ละเรื่องโดยไม่ยึดตามลำดับเวลาก่อนหลัง
    ง. การตีความโดยยึดลำดับความต่อเนื่องของเวลา
9. การประเมินคุณค่าของหลักฐานจากภายในพิจารณาจากสิ่งใด
    ก. การใช้ความรู้สึกส่วนตัว และมาตรฐานปัจจุบันไปประเมินเหตุการณ์
    ข. ความสอดคล้องกับหลักฐานอื่นหรือไม่ ถ้าสอดคล้องก็มีความน่าเชื่อถือ
    ค. การใช้สำนวนภาษา ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้เขียน สอดคล้องกับหลักฐานอื่น
    ง. การตรวจสอบหาข้อบกพร่องของข้อความหลักฐานที่คัดลอกหรือแปลความหมายผิดพลาด
10. การรวมเข้าด้วยกันเพื่ออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยเป็นขั้นตอนใดของวิธีการทางประวัติศาสตร์
    ก. การรวบรวมข้อมูล
    ข. การสังเคราะห์หลักฐาน
    ค. การตีความในแนวดิ่ง
    ง. การใช้สำนวนภาษาของผู้เขียนเรื่องสั้น

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.1.3

วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และความแตกต่างของหลักฐานในการศึกษา
สาระการเรียนรู้
- หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

     หลักเกณฑ์การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ เพื่อความสะดวกในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 สมัย โดยอาศัยหลักฐาน ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ตัวหนังสือแต่ใช้การเล่าเรื่องราวหรือหลักฐานทางโบราณคดี และสมัยประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ใช้ตัวหนังสือในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม ปัจจุบันองค์การ (UNESCO) การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้กำหนดยุดสมัยเพิ่มขึ้นมาอีก 1 สมัย คือ สมัยกึ่งประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคที่ยังไม่รู้จักใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราว แต่ผู้คนจากสังคมอื่นได้เดินทางผ่านและได้บันทึกเรื่องราวถึงผู้คนเหล่านั้นไว้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
    การศึกษาเรื่องราวในสมัยก่อนประวัติศาสตร์อาศัยการสันนิษฐานและการตีความจากหลักฐานโบราณคดีและหลักฐานทางสภาพแวดล้อม ยุคก่อนประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ
ยุคหิน
    หลักฐานที่ค้นพบแสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าด้านวัฒนธรรมของมนุษย์ค่อย ๆ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ตามหลักฐานของวัตถุที่มนุษย์ใช้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธ ซากสัตว์ที่เหลืออยู่ทำให้เราแบ่งยุคสมัยของมนุษย์เป็นลำดับขั้น คือ ยุคหินเก่า (Paleolithic) ระยะเวลา 50,000 – 100,000 ปีมาแล้ว มนุษย์นำเอาหินกะเทาะมาทำเครื่องมืออย่างหยาบ ๆ จากนั้นพัฒนาการมีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ มีการสลักหินทำหม้อไห มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินขัด นำสัตว์มาเลี้ยง เลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า ปลูกพืชบางอย่าง เมื่อทำไร่ ทำนา ก็เกิดเป็นหมู่บ้าน ทำเครื่องหัตถกรรม รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นหม้อ จาน กระสุนดินเผา มีการประดิษฐ์ลูกศร ฉมวก ใบหอก จากกระดูก ใช้เปลือกหอยมาทำใบมีด
ยุคโลหะ (Metals)
    ระยะเวลา 6,000 ปีมาแล้ว ในยุตนี้รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะแทนการใช้หิน ยุคโลหะแบ่งย่อยเป็นยุคที่สำคัญ ได้แก่
ยุคสำริด
    ยุคนี้มีการนำทองแดงมาทำสิ่งต่าง ๆ โดยผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก เป็นสำริด ได้แก่ การประดิษฐ์กลองมโหระทึก ขวาน หอก นับได้ว่ามีการค้นหาโลหะให้มีคุณสมบัติดีขึ้น การผสมกันของโลหะสองชนิดทำให้มีคุณภาพดี และยังทำเครื่องประดับ เช่น กำไล เป็นต้น

ยุคเหล็ก
ยุคนี้เริ่มมีการพัฒนาการของการถลุงเหล็กเพื่อเอาเหล็กมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งแข็งแกร่งทนทานกว่าสำริด การหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่าการหลอมทองแดงและต้องมีความรู้ในเรื่องการสร้างเตาให้มีความร้อนมากพอ ขั้นแรกของการผลิตสิ่งของทำด้วยเหล็ก คงใช้วิธีตีเหล็กให้ไดรูปแบบที่ต้องการขณะร้อน ไมใช่วิธีหลอมเหล็ก นอกจากนี้ยังใช้เหล็กทำเป็นอาวุธ เครื่องมือเกษตรกรรม เช่น เสียม จอบ

สมัยประวัติศาสตร์
    สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มนุษย์เริ่มรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว แบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ คือ
1. สมัยโบราณ ในสมัยนี้มนุษย์ได้ตั้งหลักแหล่งบ้านเมืองเป็นแว่นแคว้น มีตัวอักษร มีอารยธรรมสูงขึ้นแบบคนเมือง มีวัฒนธรรมศาสนาที่ซับซ้อนกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์เหล่านี้ตั้งบ้านเมืองอยู่ตามแหล่งอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ ของโลก เช่น เมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส – ยูเฟรตีส มีอาณาจักรที่สำคัญ เช่น สุเมเรียน บาบิโลเนียน อัสซีเรีย ฟินีเซีย เปอร์เซีย เป็นต้น) อินเดีย (ลุ่มแม่น้ำสินธุ คงคาและพรหมบุตร) จีน (ลุ่มแม่น้ำฮวงโห แยงซีเกียง) แอฟริกา (ลุ่มแม่น้ำไนล์ มีอาณาจักรอียิปต์) อเมริกาใต้ (มีอารยธรรมอินคา แอสแตค ในประเทศแม็กซิโก) และริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (อารยธรรมที่เกาะครีด อาณาจักรกรีก โรมัน) เป็นต้น ประวัติศาสตร์สมัยโบราณสิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรโรมันแตกสลายลง เพราะถูกอนารยชนเผ่าเยอรมันในยุโรปกลางรุกรานและทำลายลงเมื่อปี ค.ศ. 476
2. สมัยกลาง เริ่มเมื่อชนชาติต่าง ๆ ในยุโรปฟื้นจากอำนาจการรุกรานของบรรดาอนารยชนเผ่าต่าง ๆ และเริ่มก่อตั้งเป็นแคว้นอาณาจักรต่าง ๆ นักประวัติศาสตร์เรียกยุคสมัยนี้ว่า ยุคมืด เพราะเป็นการหยุดชะงักของความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะวิทยาการของสมัยโบราณ สมัยนี้คริสต์ศาสนาเริ่มขยายอิธิพลคอรบคลุมไปทั่วยุโรป ศาสนจักรซึ่งมีศูนย์กลางที่องค์สันตะปาปามีอำนาจและอิทธิพลสูงด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมสมัยนี้เป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
การสิ้นสุดของยุคกลางยังไม่เป็นที่ตกลงกันแน่ชัด เนื่องจากประวัติศาสตร์มีความคิดเห็นขัดแย้งกัน บางท่านถือเอาปี ค.ศ. 1453 เป็นปีที่สิ้นสุด เพราะอาณาจักรโรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์) ถูกพวกเตอร์กเข้าทำลาย แต่บางท่านถือว่าสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1492 เมื่อโคลัมบัสค้นพบโลกใหม่
3. สมัยใหม่     เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1500 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ศาสนาคริสต์เริ่มเสื่อมอำนาจและเกิดการปฏิวัติความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อันนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เริ่มเสื่อมอำนาจลง จนเกิดการล้มระบบกษัตริย์ ระยะนี้อุดมการณ์ประชาธิปไตย เริ่มแพร่หลายอย่างรวดเร็วเป็นผลให้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยหลายแห่ง เช่น การปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ. 1776) เกิดรัฐประชาชาติ (ประเทศ) เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมของโปรตุเกศ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งต่างแย่งชิงและพยายามแผ่แสนยานุภาพทางทหารไปทั่วโลก จนในที่สุดนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918) และสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยใหม่
4. สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่หลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 โลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น (The Cold War) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต โลกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งของสองอภิมหาอำนาจ นำไปสู่ความตึงเครียด จนในที่สุดเมื่อสหภาพโซเวียตได้เสื่อมสลายลงทำให้ภาวะสงครามเย็นสิ้นสุดลงด้วย โลกเข้าสู่การจัดระเบียบโลกใหม่ที่มีสหประชาชาติ และสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ รวมทั้งเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออก
     การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออกจะแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ หรือศูนย์กลางอำนาจเป็นเกณฑ์ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน สามารถแบ่งออกได้เป็นประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220) ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 1368) ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1911) และประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1911 – ปัจจุบัน)

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์จีน

ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ
    ช่วงเวลาการเริ่มต้นจากรากฐานอารยธรรมจีน ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมหยางเซา (Yang Shao) วัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan) อันเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและโลหะสำริด ต่อมาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ต่าง ๆ ได้ปกครองประเทศ ได้แก่ ราชวงศ์เซียะ ประมาณ 2,205 – 1,766 ปีก่อนคริสต์ศักราช และราชวงศ์ชางประมาณ 1,767 – 1,122 ปีก่อนคริสต์ศักราช ช่วงเวลาที่จีนเริ่มก่อตัวเป็นรัฐที่มีรากฐานการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ราชวงศ์โจว ประมาณ 1,122 – 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งแบ่งออกเป็นราชวงศ์โจวตะวันตก และราชวงศ์โจวตะวันออก เมื่อราชวงศ์โจวตะวันออกเสื่อมลง เกิดสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองรัฐต่าง ๆ ในที่สุดราชวงศ์ฉิน รวบรวมด่อตั้งราชวงศ์ช่วงเวลา 221 – 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสมัยราชวงศ์ฮั่น 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศง 220) เป็นสมัยที่รวมศูนย์อำนาจจนเป็นจักรพรรดิ
ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง
    อารยธรรมมีการปรับตัวเพื่อรับอิทธิพลต่างชาติเข้ามาผสมผสานในสังคมจีน ที่สำคัญคือพระพุทธศาสนา แระวัติศาสตร์จีนสมัยกลางเริ่มสมัยด้วยความวุ่นวายจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น เรียกว่าสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 589) เป็นช่วงเวลาการยึดครอบของชาวต่างชาติ การแบ่งแยกดินแดน ก่อนที่จะมีการรวมประเทศในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) ช่วงเวลานี้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองสูงสุดก่อนที่จะแตกแยกอีกครั้ง ในสมัยห้าราชวงศ์กับสิบรัฐ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 979) ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 – ค.ศ. 1279) สามารถรวบรวมประเทศจีนได้อีกครั้ง และมีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม จนกระทั่งชาวมองโกลสามารถยึดครองประเทศจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1260 – ค.ศ. 1368)
ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่
    ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มใน ค.ศ. 1368 เมื่อชาวจีนขับไล่พวกมองโกลออกไป แล้วสถาปนาราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) ขึ้นปกครองประเทศจีน และถูกโค่นล้มอีกครั้งโดยราชวงศ์ซิง (ค.ศ. 1664 – ค.ศ. 1911) ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงเป็นเวลาที่ประเทศจีนถูกคุกคามจากชาติตะวันตก และจีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839 – ค.ศ. 1842) จนสิ้นสุดราชวงศ์ใน ค.ศ. 1911
ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน
    ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบันเริ่มต้นใน ค.ศ. 1911 เมื่อจีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐโดย ดร.ซุน ยัตเซน (ค.ศ. 1911 – ค.ศ. 1949) ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปฏิวัติและได้ปกครองจีน จึงเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นใช้พัฒนาการของอารยธรรมและช่วงเวลาตามศูนย์กลางอำนาจการปกครองเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย สาเหตุที่ใช้เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยเนื่องจากจักรพรรดิที่เป็นประมุขของญี่ปุ่นมีเพียงราชวงศ์เดียวตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยอำนาจการปกครองในช่วงเวลาส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลนักรบต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยโบราณ
    เมื่อมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะญี่ปุ่นจนถึงช่วงที่ญี่ปุ่นรบเอาอารยธรรมจากจีน แบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ เช่น สมัยโจมอน (ประมาณ 7,000 - 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นวัฒนธรรมสมัยหินและเครื่องปั้นดินเผา สมัยยาโยย (ประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 300) เป็นสมัยโลหะและสังคมกสิกรรม และสมัยโคะฟุง (ค.ศ. 300 – ค.ศ. 600) เป็นสมัยของการก่อตั้งรัฐและจัดระเบียบทางสังคม
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยกลาง
    ญี่ปุ่นรับเอาอารยธรรมจีนและพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ ประวัติศาสตร์สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยอาสุกะ (คริสต์ศตวรรษที่ 7) สมัยนารา (ค.ศ. 710 – ค.ศ. 794) เมืองหลวงอยู่ที่เมืองนารา สมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เมืองหลวงอยู่ที่เมืองเฮอัน (หรือปัจจุบันคือเมืองเกียวโต) ซึ่งจักรพรรดิมีอำนาจปกครอง สมัยคามากุระ (ค.ศ. 1185 – ค.ศ. 1333) เป็นสมัยที่โชกุนตระกูลมินาโมโตมีอำนาจปกครองประเทศ มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคามากุระ ต่อมาตระกูลอาชิกางะได้ โค่นล้มตระกูลมินาโมโตและเป็นโชกุนแทนที่ใน ค.ศ. 1333 โชกุนตระกูลาชิกางะมีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองมูโรมาจิเขตเมืองเกียวโต สมัยของมูโรมาจิสิ้นสุดเมื่อเกิดสงครามระหว่างตระกูลต่าง ๆเป็นสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1573
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่
    สมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มในสมัยสงครามกลางเมืองหรือสมัยโมโมยามะ (ค.ศ. 1573 – ค.ศ. 1600) จนกระทั่งโตกุกาวา อิเอยาสุได้ยุติสงครามกลางเมือง และสถาปนาระบอบโชกุนตระกูลโตกุกาวา ศูนย์กลาง การปกครองที่เมืองเอโดะ ดังนั้นสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1600 – ค.ศ. 1868) เป็นช่วงที่ระบบศักดินาเจริญสูงสุด ค.ศ. 1868 โชกุนถวายอำนาจการปกครองคืนแก่จักรพรรดิ จากนั้นญี่ปุ่นได้เข้าสู่สมัยเมจิ (ค.ศ. 1868 – ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นสมัยของการปฏิรูปญี่ปุ่นให้ทันสมัยแบบตะวันตก ต่อมาสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1912 – ค.ศ. 1939) จนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 - ค.ศ. 1945) และสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945 – ปัจจุบัน)

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย
    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย แบ่งอกเป็น สมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ แต่ละยุคสมัยจำมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น
ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ
    ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 - 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดียเปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ รยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)
ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง
    อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526)
ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่
    พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากรปะเทศอังกฤษ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้น และเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947)   อย่างไรก็ตามสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1858) หมายถึง รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลฮีกับสมัยราชวงศ์โมกุล

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออก

สาระการเรียนรู้

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออก
    การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออกจะแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ หรือศูนย์กลางอำนาจเป็นเกณฑ์ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน สามารถแบ่งออกได้เป็นประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220) ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 1368) ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1911) และประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1911 – ปัจจุบัน)

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์จีน


ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ
    ช่วงเวลาการเริ่มต้นจากรากฐานอารยธรรมจีน ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมหยางเซา (Yang Shao) วัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan) อันเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและโลหะสำริด ต่อมาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ต่าง ๆ ได้ปกครองประเทศ ได้แก่ ราชวงศ์เซียะ ประมาณ 2,205 – 1,766 ปีก่อนคริสต์ศักราช และราชวงศ์ชางประมาณ 1,767 – 1,122 ปีก่อนคริสต์ศักราช ช่วงเวลาที่จีนเริ่มก่อตัวเป็นรัฐที่มีรากฐานการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ราชวงศ์โจว ประมาณ 1,122 – 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งแบ่งออกเป็นราชวงศ์โจวตะวันตก และราชวงศ์โจวตะวันออก เมื่อราชวงศ์โจวตะวันออกเสื่อมลง เกิดสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองรัฐต่าง ๆ ในที่สุดราชวงศ์ฉิน รวบรวมด่อตั้งราชวงศ์ช่วงเวลา 221 – 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสมัยราชวงศ์ฮั่น 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศง 220) เป็นสมัยที่รวมศูนย์อำนาจจนเป็นจักรพรรดิ

ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง
    อารยธรรมมีการปรับตัวเพื่อรับอิทธิพลต่างชาติเข้ามาผสมผสานในสังคมจีน ที่สำคัญคือพระพุทธศาสนา แระวัติศาสตร์จีนสมัยกลางเริ่มสมัยด้วยความวุ่นวายจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น เรียกว่าสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 589) เป็นช่วงเวลาการยึดครอบของชาวต่างชาติ การแบ่งแยกดินแดน ก่อนที่จะมีการรวมประเทศในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) ช่วงเวลานี้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองสูงสุดก่อนที่จะแตกแยกอีกครั้ง ในสมัยห้าราชวงศ์กับสิบรัฐ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 979) ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 – ค.ศ. 1279) สามารถรวบรวมประเทศจีนได้อีกครั้ง และมีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม จนกระทั่งชาวมองโกลสามารถยึดครองประเทศจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1260 – ค.ศ. 1368)

ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่
    ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มใน ค.ศ. 1368 เมื่อชาวจีนขับไล่พวกมองโกลออกไป แล้วสถาปนาราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) ขึ้นปกครองประเทศจีน และถูกโค่นล้มอีกครั้งโดยราชวงศ์ซิง (ค.ศ. 1664 – ค.ศ. 1911) ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงเป็นเวลาที่ประเทศจีนถูกคุกคามจากชาติตะวันตก และจีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839 – ค.ศ. 1842) จนสิ้นสุดราชวงศ์ใน ค.ศ. 1911

ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน
    ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบันเริ่มต้นใน ค.ศ. 1911 เมื่อจีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐโดย ดร.ซุน ยัตเซน (ค.ศ. 1911 – ค.ศ. 1949) ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปฏิวัติและได้ปกครองจีน จึงเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นใช้พัฒนาการของอารยธรรมและช่วงเวลาตามศูนย์กลางอำนาจการปกครองเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย สาเหตุที่ใช้เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยเนื่องจากจักรพรรดิที่เป็นประมุขของญี่ปุ่นมีเพียงราชวงศ์เดียวตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยอำนาจการปกครองในช่วงเวลาส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลนักรบต่าง ๆ

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยโบราณ
    เมื่อมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะญี่ปุ่นจนถึงช่วงที่ญี่ปุ่นรบเอาอารยธรรมจากจีน แบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ เช่น สมัยโจมอน (ประมาณ 7,000 - 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นวัฒนธรรมสมัยหินและเครื่องปั้นดินเผา สมัยยาโยย (ประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 300) เป็นสมัยโลหะและสังคมกสิกรรม และสมัยโคะฟุง (ค.ศ. 300 – ค.ศ. 600) เป็นสมัยของการก่อตั้งรัฐและจัดระเบียบทางสังคม

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยกลาง
    ญี่ปุ่นรับเอาอารยธรรมจีนและพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ ประวัติศาสตร์สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยอาสุกะ (คริสต์ศตวรรษที่ 7) สมัยนารา (ค.ศ. 710 – ค.ศ. 794) เมืองหลวงอยู่ที่เมืองนารา สมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เมืองหลวงอยู่ที่เมืองเฮอัน (หรือปัจจุบันคือเมืองเกียวโต) ซึ่งจักรพรรดิมีอำนาจปกครอง สมัยคามากุระ (ค.ศ. 1185 – ค.ศ. 1333) เป็นสมัยที่โชกุนตระกูลมินาโมโตมีอำนาจปกครองประเทศ มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคามากุระ ต่อมาตระกูลอาชิกางะได้ โค่นล้มตระกูลมินาโมโตและเป็นโชกุนแทนที่ใน ค.ศ. 1333 โชกุนตระกูลาชิกางะมีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองมูโรมาจิเขตเมืองเกียวโต สมัยของมูโรมาจิสิ้นสุดเมื่อเกิดสงครามระหว่างตระกูลต่าง ๆเป็นสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1573

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่
    สมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มในสมัยสงครามกลางเมืองหรือสมัยโมโมยามะ (ค.ศ. 1573 – ค.ศ. 1600) จนกระทั่งโตกุกาวา อิเอยาสุได้ยุติสงครามกลางเมือง และสถาปนาระบอบโชกุนตระกูลโตกุกาวา ศูนย์กลาง การปกครองที่เมืองเอโดะ ดังนั้นสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1600 – ค.ศ. 1868) เป็นช่วงที่ระบบศักดินาเจริญสูงสุด ค.ศ. 1868 โชกุนถวายอำนาจการปกครองคืนแก่จักรพรรดิ จากนั้นญี่ปุ่นได้เข้าสู่สมัยเมจิ (ค.ศ. 1868 – ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นสมัยของการปฏิรูปญี่ปุ่นให้ทันสมัยแบบตะวันตก ต่อมาสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1912 – ค.ศ. 1939) จนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 - ค.ศ. 1945) และสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945 – ปัจจุบัน)

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย
    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย แบ่งอกเป็น สมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ แต่ละยุคสมัยจำมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น

ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ
    ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 - 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดียเปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ รยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)

ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง
    อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526)

ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่
    พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากรปะเทศอังกฤษ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้น และเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947) อย่างไรก็ตามสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1858) หมายถึง รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลฮีกับสมัยราชวงศ์โมกุล

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตะวันออก
    นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสี่สมัย ได้แก่ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบัน โดยพิจารณาลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงเวลา ขอให้ศึกษาในตารางเหตุการณ์สำคัญแต่ละยุคสมัยต่าง ๆ ของโลกตะวันออก ดังต่อไปนี้

สมัยโบราณ

ช่วงเวลา                                                           เหตุการณ์สำคัญ

2,500 – 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช   สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุของชนเผ่าดราวิเดียน      
1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช                ชนเผ่าอารยันรุกราน และเข้าไปตั้งถื่นฐานในภูมิภาคเอเซีย    
2,205 -1,767 ปีก่อนคริสต์ศักราช    ชาวจีนได้ก่อตั้งราชวงศ์เซียะ เป็นราชวงศ์แรกในดินแดนลุ่ม 
                                                       แม่น้ำฮวงเหอ                            
1,767 – 1,122 ปีก่อนคริสต์ศักราช   สมัยราชวงศ์ชางปกครองประเทศจีนและมีการประดิษฐ์ตัวอักษร
1,122 – 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช      สมัยราชวงศ์โจวเป็นสมัยศักดินาและสงครามระหว่างรัฐ          
623 – 543 ปีก่อนคริสต์ศักราช         พระพุทธเจ้าทรงประสูติและเผยแผ่พุทธศาสนาในอินเดีย        
600 – 322 ปีก่อนคริสต์ศักราช         แคว้นมคธเริ่มการรวมจักรวรรดิ                          
322 – 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช    สมัยราชวงศ์เมารยะปกครองอินเดียและสมัยพระเจ้าอโศก
                                                        มหาราช 
221 – 210 ปีก่อนคริสต์ศักราช         จักรพรรดิฉินซื่อหวงตี้ทรงรวบรวมจักรวรรดิและราชวงศ์ฉิน
                                                        ปกครองประเทศจีน                        
206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220    สมัยราชวงศ์ฮั่นปกครองจักรวรรดิจีน               
184 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 325    อินเดียอยู่ในสมัยของความแตกแยกทางการเมืองและการ
                                                          รุกรานจากต่างชาติ                                            
ค.ศ. 325 – ค.ศ. 535             ราชวงศ์คุปตะปกครองอินเดียภาคเหนือและเป็นยุคทองของ
                                             อารยธรรมอินเดีย                                               
ค.ศ. 220                               จักรวรรดิจีนแตกแยกออกเป็นสามแคว้น ถือเป็นการสิ้นสุด
                                             สมัยโบราณในประวัติศาสตร์จีน                               
ค.ศ. 535    ราชวงศ์คุปตะถูกโค่นล้ม ถือเป็นการสิ้นสุดสมัยโบราณใน ประวัติ
                  ศาสตร์ อินเดีย                          
                                                                                                                                                     

สมัยกลาง

ช่วงเวลา                                                         เหตุการณ์สำคัญ

ค.ศ. 220 – ค.ศ. 280     จักรวรรดิจีนแตกแยกออกเป็นสามแคว้น เป็นการเริ่มต้นสมัยกลางใน
                                     ประวัติศาสตร์จีน                                                                
ค.ศ. 317 – ค.ศ. 589     จีนอยู่ในสมัยความแตกแยกทางการเมืองและการรุกรานจากต่างชาติ
ค.ศ. 589 – ค.ศ. 618     ราชวงศ์สุยรวบรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น                                
.ศ. 618 – ค.ศ. 907     ราชวงศ์ถังปกครองประเทศจีน จักรวรรดิจีนมีความเจริญรุ่งเรืองทาง
                                     อารยธรรมสูงสุด                                                                       
ค.ศ. 907 – ค.ศ. 979     จักรวรรดิจีนเกิดความแตกแยกออกเป็นรัฐต่าง ๆ                      
ค.ศ. 960 – ค.ศ. 1279   ราชวงศ์ซ่งแกครองประเทศจีนและถูกรุกรานจากพวกอนารยชน     
ค.ศ. 1206 – ค.ศ. 1279 จักรวรรดิมองโกลแผ่ขยายอำนาจไปทั่วทั้งเอเชียและยุโรป           
ค.ศ. 1279 – ค.ศ. 1368 ราชวงศ์หยวนของชาวมองโกลปกครองประเทศจีน                       
ค.ศ. 553 – ค.ศ. 1200   อินเดียแตกแยกออกเป็นแคว้นต่าง ๆ                                             
ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526 พวกเตอร์กยึดได้ภาคเหนือของอินเดียแล้วสถาปนารัฐสุลต่านแห่ง
                                     เดลฮีขึ้น เริ่มต้นสมัยมุสลิมในอินเดีย (ค.ศ. 1200 – 1858) สมัยกลางใน
                                     ประวัติศาสตร์อินเดียสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1526                        

สมัยใหม่


ช่วงเวลา                                        เหตุการณ์สำคัญ                                             

ค.ศ. 1368               ชาวจีนรวมกำลังขับไล่ชาวมองโกลไป แล้วสถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น
                               สมัยกลางสิ้นสุดลง แล้วเริ่มต้นสมัยใหม่ในประวัติศาสตร์จีน        
ค.ศ. 1498               วาสโก ดา กามา นำเรือโปรตุเกสเดินทางมาถึงเมืองกาลิกัตในอินเดีย
ค.ศ. 1526               พวกโมกุลจากเอเชียกลางเข้าโค่นล้มรัฐสุลต่านแห่งเดลฮี และสถาปนา
                               ราชวงศ์โมกุลขึ้นปกครองอินเดีย                                                
ค.ศ. 1556 – ค.ศ. 1605  สมัยจักรพรรดิอักบาร์มหาราชปกครองอินเดียเป็นสมัยเจริญรุ่งเรืองของ
                                      ราชวงศ์โมกุล                                                                            
ค.ศ. 1644               ราชวงศ์หมิงถูกโค่นล้มโดยชนเผ่าแมนจู ซึ่งสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้น
                               ปกครองประเทศจีน                                                                
ค.ศ. 1658 – ค.ศ. 1707 จักรพรรดิออรังเซบแห่งราชวงศ์โมกุลปกครองอินเดีย                          
  ค.ศ. 1661 – ค.ศ. 1722จักรพรรดิคังซีปกครองประเทศจีนซึ่งเป็นการเริ่มต้นสมัยรุ่งเรืองของ
                                   ราชวงศ์ชิง                       
ค.ศ. 1757 – ค.ศ. 1763  เกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในอินเดียกับอเมริกา อังกฤษ
                                      ชนะสงครามจึงเข้ามีมีอิทธิพลในอินเดียมากขึ้น                          
ค.ศ. 1736 – ค.ศ. 1796  สมัยเฉียนหลงปกครองประเทศจีน ถือเป็นสมัยของความเจริญรุ่งเรือง
                                      ระยะสุดท้ายของราชวงศ์ชิง                                                              
ค.ศ. 1840 – ค.ศ. 1842  เกิดสงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษ จีนแพ้สงครามต้องเปิดประเทศให้
                                      กับชาติตะวันตก                                        
ค.ศ. 1857 – ค.ศ. 1858  เกิดกบฏซีปอยต่อต้านอังกฤษในอินเดียแต่อินเดียแพ้ อังกฤษจึงเข้า
                                      มาปกครองอินเดียโดยตรง                                                            
ค.ศ. 1853 – ค.ศ. 1864 เกิดกบฏไท้เผงในจีน                                                                     
ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1860 เกิดสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษและฝรั่งเศส จีนแพ้สงคราม     
ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947 อังกฤษปกครองอินเดียในฐานะอาณานิคม                                 
ค.ศ. 1894 – ค.ศ. 1895 เกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น จีนแพ้สงคราม                            
ค.ศ. 1900                     เกิดกบฏนักมวยในจีน                                                     
ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 ญี่ปุ่นและจีนเข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1
ค.ศ. 1937 – ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นรุกรานจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                                     
ค.ศ. 1945                     ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2                                     
สมัยปัจจุบัน


ช่วงเวลา                                      เหตุการณ์สำคัญ                               
ค.ศ. 1947                     อินเดียและปากีสถานได้รับเอกราช                                             
ค.ศ. 1949                     จีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์                                            
ค.ศ. 1966 – ค.ศ. 1976 การปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน                                                   
ค.ศ. 1976 – ปัจจุบัน     จีนเปลี่ยนแปลงระบบเศรษบกิจเป็นแบบทุนนิยมภายใต้การปกครอง
                                     ของพรรคคอมมิวนิสต์                           
ค.ศ. 1947 – ปัจจุบัน     อินเดียกลายเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยที่มี
                                     ประชากรมากที่สุดในโลก                          
ค.ศ. 1997                     ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ                
ค.ศ. 2002                     ติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศใหม่ที่ได้รับเอกราชจากอินโดนีเซีย     

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็เป็นผลผลิตของการติดต่อกันระหว่างสังคมด้วย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
    สมัยโบราณเป็นสมัยที่เริ่มอารยธรรมของมนุษย์ในภูมิภาคต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคสมัยโบราณนั้นได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้แก่
หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีน
1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (1,767 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220) หลักฐานลาย ลักษณ์อักษรในสมัยราชวงศ์ชาง (1,767 – 1,122 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
    สมัยนี้ปรากฏเป็นอักษรภาพจารึกตามกระดองเต่า กระดูกสัตว์ และภาชนะสำริดที่ใช้ในพิธีการ ผู้จารึกมักเป็นกษัตริย์และนักบวช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำพิธีเสี่ยงทาย เช่น สภาวะการเพาะปลูก สภาพทางธรรมชาติ การเมือง การสงคราม ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ตีความสภาพสังคมจากหลักฐานสำคัญ เช่นสุสานเมืองโบราณสมัยชาง ที่เป็นสังคมทาสประชาชนส่วนใหญ่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
2. สื่อจี้ หรือบันทึกของนักประวัติศาสตร์เขียนโดยสื่อหม่าเฉียน นักโหราศาสตร์ประจำราชสำนักในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีอก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 8) วัตถุประสงค์ในการบันทึกงานประวัติศาสตร์ของจีน คือ การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำจีนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติเพื่อศึกษาเป็นบทเรียนของชนชั้นปกครอง สื่อจี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนแรก คือ จดหมายเหตุจักรพรรดิ ส่วนที่สองคือตาราง ส่วนที่สามคือตำราเรื่องราว ส่วนที่สี่คือการสืบค้นสายตระกูลขุนนางท้องถิ่นสมัยก่อนราชวงศ์ และส่วนสุดท้ายคือความทรงจำซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชีวประวัติ จดหมายเหตุ และบันทึกของตระกูลขุนนางอันเป็นรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ หลักฐานทางประวัติศาสตร์สื่อจี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในยุคต้น ๆ ด้านข้อมูลทางการเมือง การปกครองและเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญ ๆ นอกจากนี้ยังเป็นงาปนระวัติศาสตร์ ราชวงศ์จีนในสมัยต่อมาด้วย
3. สุสานจักรพรรดิฉินซื่อหวงตี้ ใน ค.ศ. 1774 ชาวนาเมืองเทียน มณฑลส่านซีได้ขุดค้นพบรูปปั้นทหารดินเผา นักโบราณคดีจีนจึงได้ทำการขุดค้นสำรวจพบว่าเป็นสุสานของจักรพรรดิฉินซื่อหวงตี้แห่งราชวงศฉิน หลักฐานที่ค้นพบคือ รูปทหารดินเผาจำนวนมากกว่า 6,000 รูป รูปม้าศึก รถศึก รูปปั้นทหารที่ค้นพบมีลักษณะหน้าตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละคน เครื่องแต่งกายเหมือนจริง นับว่าเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุที่มีคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์ ที่ให้ข้อมูลสมัยฉินทั้งด้านการเมือง อำนาจการปกครองของจักรพรรดฺ ลัทธิความเชื่อของชนชั้นปกครอง รูปแบบทางการทหาร ระบบสังคม การเกณฑ์แรงงานวัฒนธรรมประเพณีแบบทหาร รูปแบบของศิลปกรรม สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลศิลปะจากตะวันตก
สมัยกลาง ปรากฏหลักฐานประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220 - ค.ศ. 1368) เป็นช่วงที่รับอารยธรรมต่างชาติเข้ามาโดยเฉพาะอิทธิพลพุทธศาสนา ปรากฏหลักฐานที่สำคัญ เช่น งานบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ หลังจากสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกแล้ว ทุกราชวงศ์โดยจักรพรรดิราชวงศ์ใหม่ทรงโปรดฯ ให้ราชบัณฑิตจัดทำประวัติศาสตร์ราชวงศ์เก่าที่ล่มสลายไปแล้วเรียกว่า เจิ้งสื่อ วัตถุประสงค์ของการจัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ คือ การบันทึกพฤติกรรมชนชั้นปกครอง เป็นบทเรียนทางศีลธรรมสำหรับชนชั้นปกครองในราชวงศ์ปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจดหมายเหตุประจำรัชกาล หรือสื่อลู่ เป็นต้น บันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ที่สำคัญ คือ โฮ่วฮันฉู่ สุยฉู่ ถังฉู่ ซ่งสื่อ หยวนสื่อ
2. หลักฐานแหล่งโบราณคดีถ้ำพุทธศิลป์ สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25 – ค.ศ.220) พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศจีน โดยผ่านเส้นทางสายไหม จนพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายทั่วไปในสังคมจีน สมัยราชวงศ์เว่เหนือ มีการขุดเจาะถ้ำ สร้างสรรค์ศิลปกรรมด้านประติมากรรมและจิตรกรรม เช่น ถ้ำหยุนกัง มณฑลล่านซี ถ้ำตุนหวง มณฑลกันซู ราชวงศ์ถัง มีการสร้างถ้ำหลงเหมินมณฑลเหอหนาน ผู้อุปถัมภ์สร้างถ้ำพุทธศิลป์ตั้งแต่พระจักรพรรดิ พระราชวงศ์ พระภิกษุ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เพราะมีการพบจารึกของผู้สร้างพระพุทธรูปกำกับไว้ด้วย นอกจากนี้หลักฐานที่ค้นพบในถ้ามีทั้งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา ประติมากรรมสมัยต่าง ๆ เช่น ที่ถ้ำหยุนกังและหลงเหมิน ส่วนภาพจิตรกรรมพบที่ถ้ำตุนหวง มีความงดงามแสดงถึงเนื้อหาในคัมภีร์พระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่แพร่หลายในเอเชียกลางและประเทศจีน
    หลักฐานทางด้านพุทธศิลปะให้ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม การค้าระหว่างจีน อินเดีย เอเชียกลาง และในประเทศจีน จากคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาเรื่องกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด และแหล่งโบราณคดี ศิลปะจีนแสดงให้เห็นว่าจีนรับอิทธิพลทางศิลปะจากอินเดีย โดยที่ศิลปะอินเดียและเอเชียกลางนำมาพัฒนาการเป็นศิลปะอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์ถัง
    สมัยปัจจุบัน ปรากฏหลักฐานประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ หลักฐานประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1368 – ปัจจุบัน)
    ประวัติศาสตร์สมัยใหม่เริ่มในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) สมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644 – ค.ศ. 1911) การปฏิวัติประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1911 และการปฏิวัติสังคมนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1949 จนถึงสมัยปัจจุบัน ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนที่สำคัญ เช่น งานวรรณกรรมของหลู่ซุ่น ในการศึกษางานวรรณกรรมหลู่ซุ่นในฐานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมจีนช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 20 งานวรรณกรรมของหลู่ซุ่นมีหลายรูปแบบทั้งบทความ เรื่องสั้น ได้แก่ บันทึกประจำวันของคนบ้า (ค.ศ. 1918) บ้านเกิด (ค.ศ. 1921) ชีวิตจริงของอาคิว (ค.ศ. 1921) และเรื่องของขงจื้อกับสังคมยุคใหม่ของจีน (ค.ศ. 1935) เป็นต้น เนื้อหาส่วนใหญ่สะท้อนปัญหาสังคมที่มีความอยุติธรรม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมที่ล้าหลัง การแบ่งชนชั้น ฯลฯ วัตถุประสงค์ของงานเขียนวรรณกรรมสะท้อนการกระตุ้นให้สังคมจีนเกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ไขสังคมจีนให้มีความเจริญก้าวหน้า ความสำคัญของงานวรรณกรรมหลู่ซุ่น สามารถใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ด้านการเมือง สังคม และข้อมูลความคิดของปัญญาชนจีน
    เอกสารแถลงการณ์ร่วมประชุมระหว่างประมุข / ผู้นำรัฐบาลอาเซียนกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 197 เอกสารแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นการบันทึกข้อแถลงการณ์ร่วมกันระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ กลุ่มสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประธานาธิบดีเจียงเจ๋อเหมิน แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ภายใต้หัวข้อแถลงการณ์ณ์ว่า “ความร่วมมือระหว่างอาเซียน – จีนสู่ศตวรรษที่ 21” เพื่อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในด้านต่าง ๆ
เนื้อหาความร่วมมือระหว่างกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเน้นคุณประโยชน์ของความร่วมมือกันระหว่าง 2 ฝ่าย จากความร่วมมืออย่างสันติภาพและเคารพซึ่งกันและกัน ความร่วมมือระหว่างผู้นำและทางการเมืองระหว่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจให้ใกล้ชิด ด้านการค้า การลงทุน การเงินการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เป็นต้น พร้อมทั้งร่วมกันสร้างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นเขตที่มีเสถียรภาพ สันติภาพ และเจริญก้าวหน้า นับว่าเอกสารหลักฐานจากแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นหลักฐานชั้นต้นที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนในช่วงเวลาปัจจุบัน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
    สมัยโบราณ (7,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 600) ญี่ปุ่นสมัยโบราณเริ่มตั้งแต่สมัยโจมอน สมัยยาโยย ถึงสมัยโคะฟุง หักฐานที่ปรากฏจะเป็นหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่
- หลักฐานโบราณคดีสมัยโจมอนที่พบ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาย ตุ๊กตาดินเผาเล็ก ๆ สีดำจำนวนมาก คือ ตุ๊กตาโจมอนและตุ๊กตาดินเผาฮานิวะ มีลักษณะทางศิลปะคล้ายศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะเหล่านี้ถูกสร้างโดยมนุษย์ที่อยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นสมัยเริ่มแรก
- หลักฐานโบราณคดีสมัยยาโยย ที่ค้นพบ ได้แก่ เครื่องมือทำด้วยสำริด และเหล็กควบคู่ไปกับเครื่องมือหิน และค้นพบภาชนะดินเผาสีแดงตกแต่งด้วยลายเรขาคณิต รวมทั้งร่องรอยที่อยู่อาศัยของชุมชน
- หลักฐานทางโบราณคดีสมัยหลุมฝังศพ ที่ค้นพบ ได้แก่ หลุมฝังศพขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นเนินดิน บางแห่งมีคูน้ำล้อมรอบ บริเวณหลุมฝังศพพบระฆังสำริด เครื่องเพชรพลอย กระจก ดาบ ตลอดจนตุ๊กตาฮานิวะด้วย จากข้อมูลหลายประการแสดงถึงพัฒนาการชุมชนไปสู่ความเป็นรัฐ คือ มีการแบ่งชนชั้นผู้ปกครองกันชั้นใต้ปกครอง การสร้างหลุมฝังศพขนาดใหญ่ ได้แสดงว่าชุมชนมีระบบเกณฑ์แรงงาน และมีการปกครองที่เป็นระบบ ตลอดจนความเชื่อในเรื่องธรรมชาติเป็นที่มาของศาสนาชินโต
    สมัยกลาง (ค.ศ. 600 – ค.ศ. 1573) ช่วงสมัยกลางนี้ญี่ปุ่นนับเอาอารยธรรมจีนและพุทธศาสนาเข้ามา หลังจาก ค.ศ. 1185 เป็นช่วงที่มีความวุ่นวายทางการเมือง ช่วงเวลาที่สำคัญ เช่น
- โคจิกิ แปลว่า การบันทึกเรื่องราวของสิ่งโบราณ เป็นพงศาวดารประจำราชสำนักญี่ปุ่นรวบรวมขึ้นใน ค.ศ. 1082 – ค.ศ. 712 โดยบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับสูง เนื้อหาหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงกำเนิดประเทศญี่ปุ่น มีการรวบรวมตำนานโบราณ นิยาย บทเพลง นิทาน เรื่องเล่า ประวัติตระกูลขุนนาง วัตถุประสงค์ในการเขียนโคจิกิ ต้องการบันทึกประวัติวงศ์ตระกูลที่มีความสัมพันธ์กับสถาบันจักรพรรดิ เรื่องราวประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นตั้งแต่กำเนิดแประเทศญี่ปุ่นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ความสำคัญของหนังสือโคจิกิถือว่าเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรชิ้นแรกของญี่ปุ่นที่กล่าวถึงกำเนิดของประเทศญี่ปุ่น ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์หลายด้าน ทั้งด้านการเมือง สมัยที่ญี่ปุ่นยังมิได้เป็นราชอาณาจักร จนถึงสมัยรับอารยธรรมจากจีน คติความเชื่อต่าง ๆ ของญี่ปุ่น รวมทั้งใช้เป็นหลักฐานการศึกษาร่วมกับหลักฐานทางด้านโบราณคดี
- นิฮงโชกิ เขียนโดยเจ้าชายโทเนริ และยาสุเมโระ ฟูโตะ โนะ อาซอน ถวายแด่จักรพรรดินีกิมเมอิ ค.ศ. 720 เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ชาติ ความสำคัญของหนังสือนิฮงโชกิให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่กำเนิดญี่ปุ่นจนถึง ค.ศ. 697 ทั้งการเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ศาสนาของญี่ปุ่นโบราณ โดยบันทึกเพิ่มจากโคจิกิบันทึกไว้ประมาณ 200 ปี คือจากคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7
    สมัยใหม่และสมัยปัจจุบันของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1573 – ปัจจุบัน) ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นช่วงสมัยใหม่เริ่มต้นสมัยสงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1573 – ค.ศ. 1600) สมัยโตกุกาวา จรถึงปัจจุบันหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
- ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1728 เขียนโดยเองเกลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ โดยที่ได้เดินทางมายังประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1690 โดยเรือสินค้าของเนเธอร์แลนด์ แกมป์เฟอรพำนักในญี่ปุ่นประมาณ 2 ปี เขาได้เดินทางไปยังเมืองเกียวโต และเอโดะ (โตเกียว) ผ่านเส้นทางสายโตไคโด แกมป์เฟอร์ทำการบันทึกเรื่องราวที่พบเห็นในญี่ปุ่น โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการบรรยายภาพของประเทศญี่ปุ่นที่ได้พบเห็นในญี่ปุ่น โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการบรรยายภาพของประเทศญี่ปุ่นได้พบเห็นและวาดภาพลายเส้นเกี่ยวกับสถานที่สำคัญ ๆ ของญี่ปุ่นไว้ด้วย เช่น ปราสาทเอโดะของโชกุลตระกูลโตกุกาวา เป็นต้น เรื่องราวประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 5 เล่ม เล่มแรกบันทึกเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึง การเดินทางจากเมืองปัตตาเวีย แวะเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาแล้วตรงไปยังญี่ปุ่น เน้นด้านลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ เล่มที่สองมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปกครองของญี่ปุ่น กล่าวถึงระบบการปกครองของญี่ปุ่น เล่มที่สามเกี่ยวกับศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีของญี่ปุ่น เล่มที่สี่เนื้อหาเกี่ยวกับการเดินทางของแกมป์เฟอร์ เดินทางมาขึ้นฝั่งที่เมืองท่านางาซากิ สภาพเมืองท่าชาวต่างชาติและการค้าของเนเธอร์แลนด์ในญี่ปุ่น เล่มที่ห้ากล่าวถึงการเดินทางของแกมป์เฟอร์ในประเทศญี่ปุ่นจากเมืองท่านางาซากิไปยังเมืองโอซาก้าและเมืองเอโดะ (โตเกียว) และการเดินทางกลับมายังเมืองท่านางาซากิ
    งานบันทึกของเอเกลเบิร์ต แกมเฟอร์ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นในการศึกาญี่ปุ่นสมัยปิดประเทศ เพราะเป็นเรื่องราวบันทึกสภาพของญี่ปุ่นที่ได้ประสบด้วยตนเอง และเป็นข้อมูลด้านทัศนคติของชาวตะวันตกที่มีต่อประเทศญี่ปุ่นยุคศักดินาสวามิภักดิ์ ด้วย
- รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1947 หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาใต้ ยึดครองญี่ปุ่น แล้วยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาเป็นกฎหมายสูงสุดของญี่ปุ่น วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และใช้มาถึงปัจจุบัน เนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ คือ การสร้างระบอบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในระบอบการปกครองประเทศทั้งระบบรัฐสภา และการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่น สิทธิการเลือกตั้งทางการเมือง เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น ความเสมอภาคระหว่างสามีและภรรยา สิทธิของพลเมืองในการรับการศึกษาตามความสามารถรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1947 มีความสำคัญในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชั้นต้นที่กล่าวถึงทัศนคติและความคาดหวัง ของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อญี่ปุ่น ความเปลี่ยนแปลงของประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอินเดีย
    สมัยโบราณ (2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 535) สมัยของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และอารยธรรมชนเผ่าอารยันในภูมิภาคเอเชียใต้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
- เมืองโบราณโมเฮนโจดาโรและฮารัปปา เป็นแหล่งหลักฐานทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำสินธุ หลักฐานทางด้านโบราณสถาน ได้แก่ เมืองโบราณ อาคารบ้านเมือง ถนนหนทาง สระอาบน้ำสาธารณะ เป็นต้น ส่วนหลักฐานด้านโบราณวัตถุ เช่น ประติมากรรม หล่อด้วยโลหะ ดินเผา หินทราย เพศชายและเพศหญิง บางรูปก็มีตราประทับและตัวอักษร รูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น จากข้อมูลที่ค้นพบทำให้ทราบถึงสภาพชีวิตของประชากร ศิลปวัฒนธรรมของชาวดราวิเดียน ระบบชลประทาน เศรษฐกิจแบบเกษครกรรม การปกครองที่รวบอำนาจของชาวดราวิเดียน
- คัมภีร์พระเวทของชาวอารยัน (1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) อารยธรรมใหม่ของชาวอารยัน เรียกว่า อารยธรรมพระเวท หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์ทางศาสนาของชาวอารยัน ในสมัยแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดีย คัมภีร์พระเวทประกอบด้วย ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอาถรรพเวท เนื้อหาคัมภีร์พระเวทเป็นเรื่องราวของชาวอารยันที่ได้อพยพเข้ามายังภาคเหนือของอินเดีย และให้ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา การเมือง สังคมวัฒนธรรมด้วย เช่น กรอบความคิดทางการเมือง เรื่องของเทวราชาหรือการอวตารของเทพเจ้าลงมากษัตริย์ พระราชพิธีที่มีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี กรอบปรัชญาของชาวอารยัน
- ศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช คือ จารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้บันทึกเรื่องราวของพระองค์โดยจารึกไว้ตามผนังถ้ำ ศิลาจารึกหลักเล็ก ๆ จารึกบนเสาหินขนาดใหญ่มีลักษณะศิลปกรรมที่งดงาม เช่น ที่สารนาถ จากรามปรวา เป็นต้น เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาทรงใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาปกครองประเทศ หลักศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชได้ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์อินเดียด้านการเมือง การปกครอง การสร้างจักรวรรดิ ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมของอินเดีย
    สมัยกลาง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1526) สมัยกลางของอินเดียเป็นสมัยของการแตกแยกทางการเมือง และการรุกรานจากพวกมุสลิม จนเกิดอาณาจักรสุลต่านแห่งเดลฮี หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น
- หนังสือประวัติของซาห์ ฟีรุส เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของสุลต่านแห่งเดลี ตั้งแต่สมัยสุลต่านบัลบันจนถึงต้นสมัยสุลต่านฟีรุส ซาห์ ตุคลุก มีเนื้อหานำเสนอถึงประวัติของสุลต่านแห่งเดลี การปฏิบัติหน้าที่ของสุลต่านเหล่านั้นและการพบจุดจบของสุลต่านแต่ละพระองค์ คุณค่าของหนังสือปรวัติของซาห์ ฟีรุสเป็นการรวบรวมข้อมูลและการแยกแยะข้อมูลเกี่ยวกับปรัชญาทางการเมือง ประวัติศาสตร์ ศาสนา อักษรศาสตร์ และข้อมูลชีวิตประจำวันของประชาชน ทำให้เป็นหลักฐานข้อมูลศึกษาประวัติศาสตร์อินเดียสมัยสุลต่านแห่งเดลี ประวัติของซาห์ ฟีรุส เรียบเรียงโดย ชีอา อัล ดิน บรานี ซึ่งเขาเป็นบริวารของสุลต่าน (นะดิม) ต่อมาต้องถูกคุมขัง ช่วงเวลาดังกล่าว บารนีได้เขียนหนังสือประวัติของซาห์ ฟีรุส ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้สุลต่านแห่งเดลีทุกพระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ต่อศาสนาอิสลาม โดยเขียนเสร็จใน ค.ศ. 1357
- งานวรรณกรรมของอะมีร์ ศุลเรา วรรณกรรมของเขามีลักษณะทั้งโคลงกลอนและร้อยแก้วโดยมีวัตถุประสงค์ถวายแด่สุลต่าน งานที่สำคัญของอะมีร์ ศุลเรา ได้แก่ ชิรัน อัล – ซาเดน หรือ มิฟ ตาอัล – ฟูตัช นูห์ ซิปหร์ งานเขียนของอะมีร์ ศุลเรา เน้นที่วีรกรรมของศุลต่านด้านพฤติกรรมและศักยภาพ ซึ่งรวบรวมทั้งคุณความดี ความสามารถ ความเป็นชาวมุสลิมที่แท้จริง เพื่อสรรเสริญสุลต่านและราชสำนักทำให้งานวรรณกรรมมีลักษณะหรูหรา เกินความจริงและใช้สำนวนทางวรรณคดีในการประพันธ์ อย่างไรก็ตามแม้ว่าวรรณกรรมของอะมีร์ ศุลเรามีความอคติและจินตนาการของผู้แต่ง แต่ก็ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ณ์ทางประวัติศาสตร์ กรอบความคิดทางสังคม สภาพชีวิต และวัฒนธรรมของชาวอินเดียในสมัยกลาง

สมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน
    ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เริ่มต้นเมื่อพวกโมกุลสถาปนาราชวงศ์โมกุลจนถึงสมัยอังกฤษปกครองอินเดีย และอินเดียได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1947 จนถึงปัจจุบัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียที่สำคัญ ได้แก่
- ประวัติของอักบาร์ ของพระเจ้าอักบาร์มหาราช (ค.ศ. 1556 – ค.ศ. 1605) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สำคัญของราชวงศ์โมกุลที่มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ประวัติของอักบาร์แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงการประสูติของอักบาร์และยุคสมัยของจักรพรรดิบาบูร์ (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1530) กับสมัยจักรพรรดิฮูมายัน (ค.ศ. 1530 – ค.ศ. 1556) ส่วนที่สองกล่าวถึงยุคสมัยจักรพรรดิอักบาร์ และส่วนที่สามเกี่ยวกับประชากร อุตสาหกรรม และสภาวะเศรษฐกิจของจักรพรรดิโมกุล ข้อมูลที่ได้จากเอกสารประวัติอักบาร์เป็นข้อมูลด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ การผลิตอุตสาหกรรม สังคม ประชากร ในสมัยต้นราชวงศ์โมกุล นับว่าเป็นเอกสารหลักฐานชั้นต้นที่จะศึกษาประวัติศาสตร์อินเดียช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16
    ประวัติศาสตร์ของอักบาร์ เรียบเรียงโดย อาบูล ฟาซัล ซึ่งเป็นพระสหายและที่ปรึกษาของพระเจ้าอักบาร์ ฟา ซัล เอกสารประวัติของอักบาร์เขียนเสร็จใน ค.ศ. 1593 เอกสารฉบับดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารทางราชสำนักโมกุล
- พระราชโองการของพระราชินีวิกตอเรีย ค.ศ. 1857 – ค.ศ. 1858 ได้เกิดกบฏของทหาร ซีปอย ซึ่งเป็นทหารชาวอินเดียในกองทัพอังกฤษต่อต้านบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เมื่อรัฐบาลอังกฤษทำการปราบกบฏซีปอยเรียบร้อยแล้ว แต่เหตุการณ์จลาจลส่งผลกระทบต่ออินเดีย เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษที่กรุงลอนดอนเข้าปกครองอินเดียโดยตรง พระราชโองการของพระราชินีวิกตอเรียเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชั้นต้นที่สำคัญในการศึกษานโยบายของอังกฤษในการเข้าปกครองอินเดีย โดยมีแนวคิดลักษณะอุดมคติอยู่มากตามแบบจักรวรรดินิยม ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่ง
    เนื้อหาพระราชโองการฉบับนี้มีลักษณะของตำสัญญาสำหรับชาวอินเดียโดยกล่าวถึงการยกเลิกบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ สิทธิของอังกฤษในอินเดีย และการให้ชาวอินเดียมีสิทธิ เสรีภาพในการนับถือศาสนาที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการประกาศการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านอุตสาหกรรม การบริการสาธารณะ ผลประโยชน์ของชาวอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ


                                                                    แบบทดสอบ

คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. เกณฑ์การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สามารถศึกษาจากหลักฐานประเภทใด
    ก. ศิลาจารึก                                ข. จารบนใบลาน
    ค. เครื่องประดับ                          ง. อุดมการณ์ประชาธิปไตย
2. การตั้งหลักแหล่งบ้านเมืองเป็นแคว้น มีอารยธรรมสูงแบบคนเมือง แสดงว่ายุคสมัยใด
    ก. กึ่งประวัติศาสตร์                     ข. สมัยประวัติศาสตร์
    ค. สมัยก่อนประวัติศาสตร์           ง. สมัยยุคหิน
3. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ของจีนสมัยโบราณ วัฒนธรรมที่เป็นยุคเริ่มต้นของอารยธรรมจีนคืออะไร
    ก. ยุคหิน                                     ข. ยุคโลหะ
    ค. ยุคสำริด                                 ง. ยุคเหล็ก
4. ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ ช่วงเวลาที่มีการก่อตัวเป็นรัฐและวางรากฐานด้านกาปรกครอง เศรษฐกิจ และสังคมในช่วงราชวงศ์ใด
    ก. เซียะ ชาง                               ข. ชางโจว
    ค. โจวฉิน                                   ง. ฉิน ฮั่น
5. ช่วงเวลาที่ประเทศประเทศจีนมีความรุ่งเรืองสูงสุดก่อนที่ประเทศจีนจะแตกแยกในสมัยห้าราชวงศ์กับสิบรัฐได้แก่ราชวงศ์ใด
     ก. ราชวงศ์ฮั่น                            ข. ราชวงศ์สุย
     ค. ราชวงศ์ถัง                             ง. ราชวงศ์ซ่ง
6. ราชวงศ์สุดท้ายของจีนที่ถูกโค่นล้มได้แก่ราชวงศ์ใด
     ก. ราชวงศ์สุย                            ข. ราชวงศ์ฮั่น
     ค. ราชวงศ์หมิง                          ง. ราชวงศ์ชิง
7. การเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบการปกครองแบบใด(ใน ค.ศ. 1911 – ค.ศ. 1949)
     ก. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์     ข. ระบอบคอมมิวนิสต์
     ค. ระบอบสาธารณรัฐ                       ง. ระบอบสังคมนิยม
8. เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น มีวิธีการแบ่งยุคสมัยอย่างไร
     ก. ตามพัฒนาการอารยธรรม
     ข. ช่วงเวลาศูนย์กลางอำนาจปกครอง
     ค. การตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะญี่ปุ่น
     ง. อำนาจการปกครองและพัฒนาการของอารยธรรม
9. วัฒนธรรมสมัยหินและเครื่องปั้นดินเผาเป็นอารยธรรมสมัยใด
     ก. สมัยโคะฟุง                             ข. สมัยโจมอน
     ค. สมัยยาโยย                             ง. สมัยนารา
10. สมัยที่โชกุนขุนศึกเกิดสงครามศึกตระกูลต่าง ๆ นั้นศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ใด
     ก. เมืองคามากุระ เมืองเกียวโต     ข. เมืองนารา เมืองเฮอัน
     ค. เมืองเฮอัน เมืองเกียวโต           ง. เมืองคามากุระ เมืองนารา
11. โชกุนตระกูลใดสามารถยุติสงครามกลางเมืองระหว่างตระกูลลงได้
     ก. ตระกูลมินาโมโต                       ข. ตระกูลโตกุกาวา
     ค. ตระกูลอาชิกางะ                        ง. ตระกูลมูโรมาจิ
12. ช่วงเวลาที่ระบบศักดินาเจริญรุ่งเรืองที่สุดของญี่ปุ่นได้แก่สมัยใด
     ก. สมัยมูโรมาจิ                             ข. สมัยโมโมยามะ
     ค. สมัยเอโดะ                                ง. สมัยเฮอัน
13. เมื่อโชกุนถวายอำนาจคืนการปกครองแก่จักรพรรดิ ญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ยุคสมัย
     ก. สมัยเมจิ                                    ข. สมัยเอโดะ
     ค. สมัยเฮอัน                                 ง. สมัยอาสุกะ
14. การสิ้นสุดของสมัยใดถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยของโบราณของอินเดีย
     ก. สมัยพระเวท                             ข. สมัยคุปตะ
     ค. สมัยโมกุล                                ง. สมัยมุสลิม
15. อินเดียเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่เมื่อใด
     ก. การถูกแบ่งแยกเป็นประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ
     ข. ภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1971
     ค. เมื่อวัฒนธรรมมุสลิมเข้ามา รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลีกับราชวงศ์โมกุล
     ง. หลังได้รับเอกราช และถูกแยกเป็นประเทศต่างๆ
16. หลักฐานลายลักษณ์อักษรของจีนสมัยโบราณได้แก่หลักฐานประเภทใด
     ก. งานบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์     ข. แหล่งโบราณคดีถ้าพุทธศิลป์
     ค. บันทึกของสื่อจี้                                ง. ข้อมูลจดหมายเหตุประจำรัชกาล
17. งานวรรณกรรมของหลู่ซุ่นเริ่มต้นในสมัยใดของหลักฐานจีน
     ก. หลักฐานประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ
     ข. หลักฐานประวัติศาสตร์จีนราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
     ค. หลักฐานประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง
     ง. หลักฐานประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน
18. หลักฐานประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นหลักฐานประเภทใดในสมัยโบราณ
     ก. เอกสารสำคัญ
     ข. ด้านโบราณคดี
     ค. เอกสารโคจิกิ
     ง. เอกสารนิฮงโชกิ
19. เรื่องราวระวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่แบ่งออกเป็น 5 เล่ม เป็นงานเขียนของผู้ใด
     ก. อิเอยาสุ                              ข. มัตสุหิโต
     ค. แกมป์เฟอร์                         ง. โคจิกิ
20. หากต้องการศึกษาประวัติศาสตร์อินเดียช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ควรศึกษาจากหลักฐานใด
     ก. ศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช
     ข. งานวรรณกรรมของอะมีร์ ศุลเรา
     ค. ประวัติของพระเจ้าอักบาร์มหาราช
     ง. พระราชโองการของพระราชินีวิกตอเรีย