วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.1.3

วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และความแตกต่างของหลักฐานในการศึกษา
สาระการเรียนรู้
- หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

     หลักเกณฑ์การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ เพื่อความสะดวกในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 สมัย โดยอาศัยหลักฐาน ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ตัวหนังสือแต่ใช้การเล่าเรื่องราวหรือหลักฐานทางโบราณคดี และสมัยประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ใช้ตัวหนังสือในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม ปัจจุบันองค์การ (UNESCO) การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้กำหนดยุดสมัยเพิ่มขึ้นมาอีก 1 สมัย คือ สมัยกึ่งประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคที่ยังไม่รู้จักใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราว แต่ผู้คนจากสังคมอื่นได้เดินทางผ่านและได้บันทึกเรื่องราวถึงผู้คนเหล่านั้นไว้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
    การศึกษาเรื่องราวในสมัยก่อนประวัติศาสตร์อาศัยการสันนิษฐานและการตีความจากหลักฐานโบราณคดีและหลักฐานทางสภาพแวดล้อม ยุคก่อนประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ
ยุคหิน
    หลักฐานที่ค้นพบแสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าด้านวัฒนธรรมของมนุษย์ค่อย ๆ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ตามหลักฐานของวัตถุที่มนุษย์ใช้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธ ซากสัตว์ที่เหลืออยู่ทำให้เราแบ่งยุคสมัยของมนุษย์เป็นลำดับขั้น คือ ยุคหินเก่า (Paleolithic) ระยะเวลา 50,000 – 100,000 ปีมาแล้ว มนุษย์นำเอาหินกะเทาะมาทำเครื่องมืออย่างหยาบ ๆ จากนั้นพัฒนาการมีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ มีการสลักหินทำหม้อไห มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินขัด นำสัตว์มาเลี้ยง เลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า ปลูกพืชบางอย่าง เมื่อทำไร่ ทำนา ก็เกิดเป็นหมู่บ้าน ทำเครื่องหัตถกรรม รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นหม้อ จาน กระสุนดินเผา มีการประดิษฐ์ลูกศร ฉมวก ใบหอก จากกระดูก ใช้เปลือกหอยมาทำใบมีด
ยุคโลหะ (Metals)
    ระยะเวลา 6,000 ปีมาแล้ว ในยุตนี้รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะแทนการใช้หิน ยุคโลหะแบ่งย่อยเป็นยุคที่สำคัญ ได้แก่
ยุคสำริด
    ยุคนี้มีการนำทองแดงมาทำสิ่งต่าง ๆ โดยผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก เป็นสำริด ได้แก่ การประดิษฐ์กลองมโหระทึก ขวาน หอก นับได้ว่ามีการค้นหาโลหะให้มีคุณสมบัติดีขึ้น การผสมกันของโลหะสองชนิดทำให้มีคุณภาพดี และยังทำเครื่องประดับ เช่น กำไล เป็นต้น

ยุคเหล็ก
ยุคนี้เริ่มมีการพัฒนาการของการถลุงเหล็กเพื่อเอาเหล็กมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งแข็งแกร่งทนทานกว่าสำริด การหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่าการหลอมทองแดงและต้องมีความรู้ในเรื่องการสร้างเตาให้มีความร้อนมากพอ ขั้นแรกของการผลิตสิ่งของทำด้วยเหล็ก คงใช้วิธีตีเหล็กให้ไดรูปแบบที่ต้องการขณะร้อน ไมใช่วิธีหลอมเหล็ก นอกจากนี้ยังใช้เหล็กทำเป็นอาวุธ เครื่องมือเกษตรกรรม เช่น เสียม จอบ

สมัยประวัติศาสตร์
    สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มนุษย์เริ่มรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว แบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ คือ
1. สมัยโบราณ ในสมัยนี้มนุษย์ได้ตั้งหลักแหล่งบ้านเมืองเป็นแว่นแคว้น มีตัวอักษร มีอารยธรรมสูงขึ้นแบบคนเมือง มีวัฒนธรรมศาสนาที่ซับซ้อนกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์เหล่านี้ตั้งบ้านเมืองอยู่ตามแหล่งอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ ของโลก เช่น เมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส – ยูเฟรตีส มีอาณาจักรที่สำคัญ เช่น สุเมเรียน บาบิโลเนียน อัสซีเรีย ฟินีเซีย เปอร์เซีย เป็นต้น) อินเดีย (ลุ่มแม่น้ำสินธุ คงคาและพรหมบุตร) จีน (ลุ่มแม่น้ำฮวงโห แยงซีเกียง) แอฟริกา (ลุ่มแม่น้ำไนล์ มีอาณาจักรอียิปต์) อเมริกาใต้ (มีอารยธรรมอินคา แอสแตค ในประเทศแม็กซิโก) และริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (อารยธรรมที่เกาะครีด อาณาจักรกรีก โรมัน) เป็นต้น ประวัติศาสตร์สมัยโบราณสิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรโรมันแตกสลายลง เพราะถูกอนารยชนเผ่าเยอรมันในยุโรปกลางรุกรานและทำลายลงเมื่อปี ค.ศ. 476
2. สมัยกลาง เริ่มเมื่อชนชาติต่าง ๆ ในยุโรปฟื้นจากอำนาจการรุกรานของบรรดาอนารยชนเผ่าต่าง ๆ และเริ่มก่อตั้งเป็นแคว้นอาณาจักรต่าง ๆ นักประวัติศาสตร์เรียกยุคสมัยนี้ว่า ยุคมืด เพราะเป็นการหยุดชะงักของความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะวิทยาการของสมัยโบราณ สมัยนี้คริสต์ศาสนาเริ่มขยายอิธิพลคอรบคลุมไปทั่วยุโรป ศาสนจักรซึ่งมีศูนย์กลางที่องค์สันตะปาปามีอำนาจและอิทธิพลสูงด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมสมัยนี้เป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
การสิ้นสุดของยุคกลางยังไม่เป็นที่ตกลงกันแน่ชัด เนื่องจากประวัติศาสตร์มีความคิดเห็นขัดแย้งกัน บางท่านถือเอาปี ค.ศ. 1453 เป็นปีที่สิ้นสุด เพราะอาณาจักรโรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์) ถูกพวกเตอร์กเข้าทำลาย แต่บางท่านถือว่าสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1492 เมื่อโคลัมบัสค้นพบโลกใหม่
3. สมัยใหม่     เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1500 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ศาสนาคริสต์เริ่มเสื่อมอำนาจและเกิดการปฏิวัติความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อันนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เริ่มเสื่อมอำนาจลง จนเกิดการล้มระบบกษัตริย์ ระยะนี้อุดมการณ์ประชาธิปไตย เริ่มแพร่หลายอย่างรวดเร็วเป็นผลให้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยหลายแห่ง เช่น การปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ. 1776) เกิดรัฐประชาชาติ (ประเทศ) เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมของโปรตุเกศ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งต่างแย่งชิงและพยายามแผ่แสนยานุภาพทางทหารไปทั่วโลก จนในที่สุดนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918) และสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยใหม่
4. สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่หลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 โลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น (The Cold War) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต โลกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งของสองอภิมหาอำนาจ นำไปสู่ความตึงเครียด จนในที่สุดเมื่อสหภาพโซเวียตได้เสื่อมสลายลงทำให้ภาวะสงครามเย็นสิ้นสุดลงด้วย โลกเข้าสู่การจัดระเบียบโลกใหม่ที่มีสหประชาชาติ และสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ รวมทั้งเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออก
     การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออกจะแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ หรือศูนย์กลางอำนาจเป็นเกณฑ์ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน สามารถแบ่งออกได้เป็นประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220) ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 1368) ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1911) และประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1911 – ปัจจุบัน)

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์จีน

ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ
    ช่วงเวลาการเริ่มต้นจากรากฐานอารยธรรมจีน ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมหยางเซา (Yang Shao) วัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan) อันเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและโลหะสำริด ต่อมาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ต่าง ๆ ได้ปกครองประเทศ ได้แก่ ราชวงศ์เซียะ ประมาณ 2,205 – 1,766 ปีก่อนคริสต์ศักราช และราชวงศ์ชางประมาณ 1,767 – 1,122 ปีก่อนคริสต์ศักราช ช่วงเวลาที่จีนเริ่มก่อตัวเป็นรัฐที่มีรากฐานการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ราชวงศ์โจว ประมาณ 1,122 – 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งแบ่งออกเป็นราชวงศ์โจวตะวันตก และราชวงศ์โจวตะวันออก เมื่อราชวงศ์โจวตะวันออกเสื่อมลง เกิดสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองรัฐต่าง ๆ ในที่สุดราชวงศ์ฉิน รวบรวมด่อตั้งราชวงศ์ช่วงเวลา 221 – 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสมัยราชวงศ์ฮั่น 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศง 220) เป็นสมัยที่รวมศูนย์อำนาจจนเป็นจักรพรรดิ
ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง
    อารยธรรมมีการปรับตัวเพื่อรับอิทธิพลต่างชาติเข้ามาผสมผสานในสังคมจีน ที่สำคัญคือพระพุทธศาสนา แระวัติศาสตร์จีนสมัยกลางเริ่มสมัยด้วยความวุ่นวายจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น เรียกว่าสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 589) เป็นช่วงเวลาการยึดครอบของชาวต่างชาติ การแบ่งแยกดินแดน ก่อนที่จะมีการรวมประเทศในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) ช่วงเวลานี้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองสูงสุดก่อนที่จะแตกแยกอีกครั้ง ในสมัยห้าราชวงศ์กับสิบรัฐ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 979) ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 – ค.ศ. 1279) สามารถรวบรวมประเทศจีนได้อีกครั้ง และมีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม จนกระทั่งชาวมองโกลสามารถยึดครองประเทศจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1260 – ค.ศ. 1368)
ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่
    ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มใน ค.ศ. 1368 เมื่อชาวจีนขับไล่พวกมองโกลออกไป แล้วสถาปนาราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) ขึ้นปกครองประเทศจีน และถูกโค่นล้มอีกครั้งโดยราชวงศ์ซิง (ค.ศ. 1664 – ค.ศ. 1911) ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงเป็นเวลาที่ประเทศจีนถูกคุกคามจากชาติตะวันตก และจีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839 – ค.ศ. 1842) จนสิ้นสุดราชวงศ์ใน ค.ศ. 1911
ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน
    ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบันเริ่มต้นใน ค.ศ. 1911 เมื่อจีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐโดย ดร.ซุน ยัตเซน (ค.ศ. 1911 – ค.ศ. 1949) ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปฏิวัติและได้ปกครองจีน จึงเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นใช้พัฒนาการของอารยธรรมและช่วงเวลาตามศูนย์กลางอำนาจการปกครองเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย สาเหตุที่ใช้เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยเนื่องจากจักรพรรดิที่เป็นประมุขของญี่ปุ่นมีเพียงราชวงศ์เดียวตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยอำนาจการปกครองในช่วงเวลาส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลนักรบต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยโบราณ
    เมื่อมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะญี่ปุ่นจนถึงช่วงที่ญี่ปุ่นรบเอาอารยธรรมจากจีน แบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ เช่น สมัยโจมอน (ประมาณ 7,000 - 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นวัฒนธรรมสมัยหินและเครื่องปั้นดินเผา สมัยยาโยย (ประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 300) เป็นสมัยโลหะและสังคมกสิกรรม และสมัยโคะฟุง (ค.ศ. 300 – ค.ศ. 600) เป็นสมัยของการก่อตั้งรัฐและจัดระเบียบทางสังคม
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยกลาง
    ญี่ปุ่นรับเอาอารยธรรมจีนและพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ ประวัติศาสตร์สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยอาสุกะ (คริสต์ศตวรรษที่ 7) สมัยนารา (ค.ศ. 710 – ค.ศ. 794) เมืองหลวงอยู่ที่เมืองนารา สมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เมืองหลวงอยู่ที่เมืองเฮอัน (หรือปัจจุบันคือเมืองเกียวโต) ซึ่งจักรพรรดิมีอำนาจปกครอง สมัยคามากุระ (ค.ศ. 1185 – ค.ศ. 1333) เป็นสมัยที่โชกุนตระกูลมินาโมโตมีอำนาจปกครองประเทศ มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคามากุระ ต่อมาตระกูลอาชิกางะได้ โค่นล้มตระกูลมินาโมโตและเป็นโชกุนแทนที่ใน ค.ศ. 1333 โชกุนตระกูลาชิกางะมีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองมูโรมาจิเขตเมืองเกียวโต สมัยของมูโรมาจิสิ้นสุดเมื่อเกิดสงครามระหว่างตระกูลต่าง ๆเป็นสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1573
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่
    สมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มในสมัยสงครามกลางเมืองหรือสมัยโมโมยามะ (ค.ศ. 1573 – ค.ศ. 1600) จนกระทั่งโตกุกาวา อิเอยาสุได้ยุติสงครามกลางเมือง และสถาปนาระบอบโชกุนตระกูลโตกุกาวา ศูนย์กลาง การปกครองที่เมืองเอโดะ ดังนั้นสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1600 – ค.ศ. 1868) เป็นช่วงที่ระบบศักดินาเจริญสูงสุด ค.ศ. 1868 โชกุนถวายอำนาจการปกครองคืนแก่จักรพรรดิ จากนั้นญี่ปุ่นได้เข้าสู่สมัยเมจิ (ค.ศ. 1868 – ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นสมัยของการปฏิรูปญี่ปุ่นให้ทันสมัยแบบตะวันตก ต่อมาสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1912 – ค.ศ. 1939) จนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 - ค.ศ. 1945) และสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945 – ปัจจุบัน)

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย
    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย แบ่งอกเป็น สมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ แต่ละยุคสมัยจำมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น
ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ
    ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 - 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดียเปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ รยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)
ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง
    อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526)
ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่
    พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากรปะเทศอังกฤษ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้น และเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947)   อย่างไรก็ตามสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1858) หมายถึง รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลฮีกับสมัยราชวงศ์โมกุล

15 ความคิดเห็น:

  1. แหล่งอ้างอิงสืบค้นเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มไหนบ้างคะ

    ตอบลบ
  2. แหล่งอ้างอิงสืบค้นเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มไหนบ้างคะ

    ตอบลบ
  3. แหล่งอ้างอิงสืบค้นเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มไหนบ้างคับ

    ตอบลบ
  4. แหล่งอ้างอิงสืบค้นเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มไหนบ้างคับ

    ตอบลบ
  5. ดีที่สุดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

    ตอบลบ
  6. หลักเกณฑ์สำคัญในการแบ่งยุคสมัยเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์คืออะไร
    ของม.1

    ตอบลบ
  7. สุดยอดดดดดดดดดดดดเดดดดดดดดดดดดดดดดดดเดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ9 กรกฎาคม 2564 เวลา 01:50

    สุดยอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

    ตอบลบ