วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความสำคัญของอดีตต่อการศึกษาประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส 4.1

เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.1.1
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และตระหนักถึงความสำคัญในความต่อเนื่องของเวลา
สาระการเรียนรู้
ความสำคัญของอดีตต่อการศึกษาประวัติศาสตร์

การศึกษาอดีต
อดีตที่ประวัติศาสตร์ศึกษา ก็คือ อดีตของมนุษย์หรือมนุษย์เป็นศูนย์กลางการศึกษา ประวัติศาสตร์ว่ามีกำเนิดมาอย่างไร ได้ทำอะไรไว้บ้าง และเพราะอะไรจึงทำให้เป็นเช่นนั้น อดีตที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางการศึกษาประวัติศาสตร์ต้องเป็นอดีตที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์จำนวนมากด้วย เหตุผลที่ประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญที่จำนวน ทำให้เนื้อหาของประวัติศาสตร์มักเกี่ยวข้องกับชีวิตคนจำนวนมากเสนอ เช่น รัฐบาล กฎหมาย ศาสนา การเก็บภาษี การศึกษา การค้า กบฏ ฯลฯ เพราะความเคลื่อนไหวและสถาบันทางสังคมเกี่ยวพันกับคนจำนวนมาก
ตามปกติการแบ่งเวลานั้นแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ อดีต ปัจจุบันและอนาคต อดีตคือเวลาที่ผ่านไปแล้ว อนาคตคือเวลาที่ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันนั้นสั้นมาก เช่น ขณะที่ท้องฟ้ามีนกบินผ่านมาฝูงหนึ่งเมื่อเราบอกข้อความแก่เพื่อนเรา นกฝูงนั้นก็บินไปหมดแล้ว เหตุการณ์ที่บอกเพื่อนที่ได้เกิดขึ้นแล้วหรือเกิดในเวลาที่ล่วงไปมากแล้วก็นับว่าเป็นอดีต ดังนั้นปัจจุบันจึงสั้นมากจนเกือบไม่เหลือยู่เลย สิ่งที่เราพูดถึงส่วนใหญ่ในชีวิตนั้นเป็นอดีตทั้งสิ้น อดีตจึงครอบงำความคิดและความรู้ของเราอย่างกว้างขวางลึกซึ้งยิ่ง
    การศึกษาของสังคมมนุษย์ในทางประวัติศาสตร์จึงมุ่งสนใจไปที่ความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือสังคมหนึ่ง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงท่ามกลางเวลามาอย่างไร ทำนองเดียวกันคำว่ายุคสมัยในทางประวัติศาสตร์จึงหมายถึงช่วงเวลาที่กำหนดได้ด้วยศักราชเริ่มต้นและลงท้าย ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่แวดล้อมสังคมหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลา อดีตของสังคมมนุษย์มีความน่าสนใจโดยมองจากมิติเวลา หรือยุคสมัยประวัติศาสตร์ทำให้เราได้รู้ว่าลักษณะเฉพาะของสังคมได้พัฒนาบนพื้นฐานของอะไร คำว่าการพัฒนานัยสำคัญของคำนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และมีความก้าวหน้าขึ้น ในปัจจุบัน มนุษย์มีความผูกพันและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด พื้นฐานความรู้และความเข้าใจทางประวัติศาสตร์จากรากฐานความสำคัญของการเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจึงเกี่ยวพันและเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    ดังนั้นประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวสำคัญต่าง ๆ ในอดีตจากลายลักษณ์อักษรที่สามารถแปลความหมายได้ เกิดจากกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำสู่การตอบสนองจุดมุ่งหมายบางประการอย่างมีระบบ โดยมีอิทธิพลของค่านิยมและสังคมในแต่ละช่วงเวลาเป็นตัวกำหนด เมื่อเราเข้าใจอดีตสมรถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อจะได้ป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดิมอีก หรือสามารถนำเหตุการณ์ในอดีตมาเป็นแนวทางแก้ปัญหาสภาพสังคมปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นการจัดระบบข้อเท็จจริงจากหลักฐานให้สัมพันธ์กับติของเวลา เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาต่าง ๆ เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยจึงมีการแบ่งอย่างเป็นระบบ
ระบบศักราชที่สำคัญของโลก
    ระบบศักราชที่ใช้ในสังคมต่าง ๆ ในยุคเก่ามีมากมาย แต่ละระบบศักราชเกิดจากการคำนวณทางโหราศาสตร์ การใช้รัชสมัยของพระมหากษัตริย์ หรือการใช้ศาสนกาลอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ในปัจจุบันทุกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของชาติตะวันตก แต่สังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมที่มีรากฐานอยู่ในอดีต และล้วนเป็นสังคมที่ติดอยู่กับพิธีกรรมและศาสนหลัก ดังนั้นศักราชที่สำคัญของโลกหลายระบบจึงยังคงมีบทบาทอยู่เหมือนเดิมในชีวิตประจำวัน
ระบบศักราชของโลกตะวันตก
สมัยก่อนใช้คริสต์ศักราช
    ก่อนที่คริสต์ศักราชจะกลายเป็นมาตรฐานของระบบปฏิทินในโลกตะวันตกนั้น ชาวตะวันตกได้รับอิทธิพลของระบบปฏิทินหรือการนับช่วงเวลาจากหลายอารยธรรมโบราณด้วยกัน โดยเฉพาะจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น สุเมเรียน บาบิโลเนียน อียิปต์ กรีก และยิว เป็นต้น อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่ได้รับก็คือ การให้ความสำคัญต่อการใช้สัปดาห์ ซึ่งมี 7 วัน หรือการวางระบบศักราชโดยเอาปีกำเนิดตามพระคัมภีร์เก่าของลัทธิยูดาห์เป็นปีเริ่มต้น
    ศักราชของของพวกยิวนั้นเรียกว่า ศักราชโลก นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา นักบวชยิวที่เรียกว่า รับไบ ได้เริ่มคำนวณวันที่พระเจ้าสร้างโลกเสร็จเพื่อจะกำหนดศักราชของตนเอง แต่ตอนนั้นหาข้อตกลงกันไม่ได้ว่าควรเป็น 3762 หรือ 3758 ปีก่อนคริสต์ศักราชกันแน่ ต่อมาเชื่อตรงกันว่า วันกำเนิดของโลกตรงกับวันที่ 7 เดือนตุลาคม 3761 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือเมื่อ 5713 ปีมาแล้ว
    ปฏิทินของโลกตะวันตกใช้ทั้งระบบปีสุริยคติไปพร้อมกับปีทางจันทรคติ การนับปีหรือขึ้นต้นปีในแต่ละสถานที่ยึดถือต่างกันออกไป เช่น นครรัฐเอเธนส์ เริ่มต้นปีใหม่เมื่อเดือนเพ็ญแรกหลัง Summer Solstice หรือกลางฤดูร้อน (21 มิถุนายน) ไปแล้ว ขณะที่รัฐกรีกอื่น ๆ อาจถือประเพณีอื่น ๆ ปฏิทินของโลกตะวันตกพัฒนามาจากปฏิทินของโรมันโบราณ เพราะผู้ปกครองอาณาจักรมีอำนาจทางการเมืองกว้างขวางตามตำนานที่เล่าขานกัน โรมุรส ปฐมกษัตริย์สร้างกรุงโรมได้ทรงตั้งศักราชขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 738 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยนำรูปแบบที่ชาวกรีกใช้ ซึ่งชาวกรีกได้รับอิทธิพลจากบาบิโลเนียอีกทอดหนึ่ง
    ปฏิทินโรมันดั้งเดิมดูเหมือนมีเพียง 10 เดือน และปีหนึ่งมีเพียง 304 วัน โดยไม่สนใจวันที่หายไป 61 ¼ วัน ซึ่งตรงกับช่วงเวลาฤกูหนาว ส่วนชื่อเรียกเดือนก็มีเพียง 10 ชื่อ คือ Martius, Aprilis, Maius, Janlius, Fquintilis, September, Sextilis, October, November และ December ชื่อ 6 เดือนสุดท้ายใช้ภาษาละตินที่บอกลำดับตั้งแต่ 5 ถึง 10 ในชั้นต่อมาผู้ปกครองกรุงโรมชื่อ นูมา ปอม ปิริอุส (Numa Pompilius) ได้ให้เพิ่มเดือน January เข้าที่ต้นปี เดือน February เข้าที่ปลายปีของปฏิทิน เพื่อให้ครบ 12 เดือน ต่อมาเมือ่ปี 452 ก่อนคริสต์ศักราชมีประกาศย้ายเดือน February มาอยู่ระหว่าง January และ March
    ในปี 46 ก่อนคริสต์ศักราช จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้ปฏิรูประบบปฏิทินทั้งหมดโดยเรียกว่า ปฏิทินจูเลียน ซึ่งใช้ปีสุริยคติเป็นเกณฑ์ โดยถือว่าปีหนึ่งยาวนาน 365.25 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน เดือนหนึ่งมี 30 หรือ 31 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งมี 28 วันในกรณีปกติ และมี 29 วันในทุกปีที่ 4 ปฏิทินจูเลียนนำมาใช้อย่างกว้างขวางก่อน ค.ศ. 8
    ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 สันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงได้ประกาศใช้ปฏิทินใหม่ใน ค.ศ. 1582 โดยปรับปฏิทินให้สอดคล้องกับฤดูกาลตามที่ปเนจริง ซึ่งเลื่อนวันให้เร็วขึ้น 10 วัน ปฏิทินใหม่นี้เรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรียน ผลการปฏิบัติครั้งนี้ทำให้ปีสุริยคติโดยเฉลี่ยมี 365.2425 วัน หลักการของปฏิทินระบบใหม่แตกต่างจากเดิม คือ จะไม่เติมอธิกสุรทินแค่เดือนกุมภาพันธ์ของปีถ้วนร้อย ยกเว้นแต่ปีถ้วนร้อยนั้นจะหารด้วย 400 ได้ลงตัว ปีที่หารลงตัวในอนาคตถือเป็นปีปกติ ทำให้ปฏิทินคลาดเคลื่อน จากควรเป็นจริงเพียง 1 วัน เมื่อไปถึงปี ค.ศ. 20000
    ปฏิทินเกรกอเรียนได้รับการยอมรับจากนครรัฐอิตาเลียนในโปรตุเกศ สเปน แคว้นใน ค.ศ. 1669 ประเทศอื่น ๆ ได้ใช้ปฏิทินเกรกอเรียน เช่น อังกฤษ และอาณานิคม ค.ศ. 1752 สวีเดนใน ค.ศ. 1753 ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1873 จีนใน ค.ศ. 1912 สหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1918 และกรีซใน ค.ศ. 1923

                                             แบบทดสอบ
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวลงในกระดาษคำตอบ
1. อดีตที่ประวัติศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด
    ก. พื้นฐานความเป็นเหตุเป็นผล
    ข. อดีตของมนุษย์หรือความเป็นมาของมนุษย์จำนวนมาก
    ค. ความสัมพันธ์ระหว่างยุคสมัย
    ง. ความสำคัญจากสิ่งที่ทำให้เป็นเช่นนั้น
2. การแบ่งเวลาออกได้อย่างไรบ้าง
    ก. อดีต อนาคต          ข. ช่วงเวลา ยุคสมัย
    ค. ปัจจุบัน อนาคต     ง. อดีต ปัจจุบัน อนาคต
3. สิ่งที่มนุษย์พูดถึงส่วนใหญ่ในชีวิตนั้นได้แก่อะไร
    ก. อดีต                      ข. อนาคต
    ค. กระแสนิยม            ง. ค่านิยม
4. สิ่งที่ได้ทราบจากประวัติศาสตร์คืออะไร
    ก. พื้นฐานเวลา          ข. ลักษณะเฉพาะของสังคม
    ค. การพัฒนา             ง. การเปลี่ยนแปลง
5. การศึกษาเรื่องราวที่สำคัญต่าง ๆ จากอดีตเกี่ยวข้องกับวิชาใด
    ก. ภูมิรัฐศาสตร์         ข. ภูมิศาสตร์
    ค. ประวัติศาสตร์        ง. สังคมศาสตร์
6. สิ่งที่ป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดิมอีกนั้นควรทำเช่นใด
    ก. นำเหตุการณ์ในอดีตมาแก้ไขปัญหาสภาพสังคมปัจจุบัน
    ข. พิจารณาเหตุการณ์อย่างวิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน
    ค. การตอบสนองจุดมุ่งหมายอย่างมีระบบ
    ง. สัมพันธ์กับมิติทุกแง่ทุกมุมเสียก่อนกระทำ
7. ศักราชกลางในการติดต่อสื่อสารกันคือ ศักราชใด
    ก. จุลศักราช              ข. พุทธศักราช
    ค. คริสต์ศักราช          ง. ฮิจเลาะห์ศักราช
8. อิทธิพลของระบบปฏิทินของโลกตะวันตกก่อนระบบคริสต์ศักราชได้รับจากบริเวณใด
    ก. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ข. เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
    ค. เอเชียตะวันออก                ง. เอเชียใต้
9. ศักราชที่รูปแบบชาวกรีกใช้ได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรใด
    ก. โรมัน                      ข. สุเมเรียน
    ค. อัคคาเดียน             ง. บาบิโลเนีย
10. ปีหลังการประสูติกาลของพระเยซูเรียกว่าอะไร
    ก. Before Christ          ข. Easter Day
    ค. Anno Domini          ง. Ab urbis Condita

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น