วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จักรวรรดินิยมกับการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก

มาตรฐานการเรียนรู้

    วิเคราะห์ผลกระทบของการสร้างสรรค์พัฒนาการของมนุษยชาติในด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก

สาระการเรียนรู้
    -อิทธิพลตะวันตกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
    -จักรวรรดินิยมกับการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก
    พื้นฐานอารยธรรมตะวันตกและผลของการสร้างสรรค์ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกต้นเหตุสำคัญคือ ลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ในส่วนของชาติตะวันตกด้วยกันเอง
ความเป็นมาของลัทธิจักรวรรดินิยม
    นับตั้งแต่การสำรวจทางทะเล เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 – 19 นั้น อารยธรรมตะวันตกได้แพร่ขยายออกไปทั่วโลกทั้งในทวีปเอเซีย แอฟริกา ชาวยุโรปเข้ายึดครองดินแดนของชนชาติต่าง ๆ ในรูปของการล่าอาณานิคม

จักรวรรดินิยมยุคแรก
    เริ่มต้นเมื่อมีการค้นพบทวีปแอฟริกา และค้นพบเส้นทางเดินเรือไปยังทวีปเอเชีย เมื่อศตวรรษที่ 15 สเปนและโปรตุเกสเป็นชาติผู้นำการค้นพบดินแดนใหม่ โดยที่สเปนเข้ายึดครองดินแดนในอเมริกาใต้แล้วนำเงิน ทองคำ จากโลกใหม่ไป ส่วนโปรตุเกสมั่งคั่งจากการผูกขาดการค้าขายกับอินเดีย และหมู่เกาะเครื่องเทศ ต่อมาเส้นทางผูกขาดการค้า การเดินเรือของสเปนและโปรตุเกสมีคู่แข่ง คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา โดยที่อังกฤษเริ่มส่งคนไปตั้งถิ่นฐานแถบอเมริกาเหนือ และกระจายกันไปในโลกใหม่ ส่วนในฮอลันดาในศตวรรษที่ 17 มีเรือเดินสมุทรมากและควบคุมการค้าขายแถบสุมาตรา บอร์เนียว และโมลุกกะ (หมู่เกาะเครื่องเทศ) โดยขับไล่โปรตุเกสได้สำเร็จ และมีสถานีการค้าในจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ด้านฝรั่งเศส สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เข้าไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกาเหนือตอนกลาง สถานีการค้าในอินเดียและหมู่เกาะเวสต์อินดีส อังกฤษและฝรั่งเศสขัดกันเรื่องผลประโยชน์ การแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนืออินเดียระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของอังกฤษปี ค.ศ. 1769 ขณะเดียวกันการแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าในทวีปเอเชียเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทำให้เส้นทางการค้าซีกโลกตะวันตกมีความสำคัญมากขึ้น เพราะโลกใหม่ต้องการทาส ยุโรปต้องการน้ำตาลและใบยาสูบจากโลกใหม่การค้าขายกับชาวพื้นเมืองตามชายฝั่งทวีปแอฟริกาด้วยการนำเหล้ารัมจากแถบหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนมาแลกเปลี่ยนกับทองคำ งาช้าง เครื่องเทศ เสื้อผ้าจากอินเดีย เครื่องโลหะ มามอบให้แก่หัวหน้าเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกาเพื่อแลกกับทาสโดยนำทาสมายังโลกใหม่
    ในศตวรรษที่ 18 การค้าทาสได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่ส่งไปยังบราซิลของโปรตุเกสและอาณานิคมของสเปนในอเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ ฉะนั้นชาวยุโรปกับชาติอาณานิคมมีความสัมพันธ์กันเป็นไปเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการค้าขายของชาติตนเป็นสำคัญหรือที่เรียกว่า ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ที่ถือว่าประเทศเจริญมั่งคั่งต้องพยายามขายให้ได้มากที่สุดและซื้อน้อยที่สุดอาณานิคม จึงมีความสำคัญเป็นทั้งตลาดสำหรับจำหน่ายสินค้าและเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่เมืองแม่เข้าควบคุมได้อย่างเต็มที่ ด้านการผูกขาดการค้า

จักรวรรดินิยมยุคใหม่
    ปลายศตวรรษที่ 18 อังกฤษเป็นชาติผู้นำการผลิตอุตสาหกรรมผ้าและเหล็กแต่เพียงผู้เดียว ขณะที่ประทศอื่น ๆ ในยุโรปและอเมริกามีอาชีพทางกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ เมื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมแพร่หลายไปทั่วยุโรป ประเทศอุตสาหกรรมจำเป็นต้องแสวงหาตลาดสินค้า และแหล่งวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น การล่าอาณานิคมในยุคใหม่นี้ชาวยุโรปต้องการเข้าไปควบคุมทั้งการปกครองและเสรษฐกิจของประเทศอาณานิคมอย่างเต็มที่

จักรวรรดินิยมในทวีฟแอฟริกา
    จุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมยุคใหม่เกิดขึ้น ค.ศ. 1882 เมื่อรัฐบาลอังกฤษส่งเรือรบไประดมยิงเมืองอเล็กซานเดรียของอียิปต์กู้ยืมเงินจากอังกฤษ ฝรั่งเศส เพื่อการขุดคลองสุเอช และการวางรางรถไฟ การที่พึ่งต่างชาตินี้เองขบวนการชาตินิยมของอียิปต์เริ่มต่อต้านการแทรกแซงของอังกฤษจนถึงการฉวยโอกาสของอังกฤษที่จะเข้ามายึดครองอียิปต์เรื่อยมา เนื่องจากทวีปแอฟริกามีขนาดใหญ่และมีทรัพยากรมากเป็นที่ต้องการของชาวยุโรป และยังเป็นเส้นทางเชื่อมติดต่อโลกใหม่และทวีปเอเชีย ช่วง 30 ปีสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 กลุ่มมิชชันนารีพยายามจะเผยแผ่ศาสนาไปในหมู่ชาวแอฟริกัน ทำให้เกิดการสำรวจและมีนักวิทยาศาสตร์ติดตามไปด้วย และได้นำเรื่องราวการพบแหล่งทรัพยากรมาเผยแพร่ ทำให้นักลงทุนโดยการสนับสนุนจากรัฐบาลเริ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์และเกิดการแย่งกรรมสิทธิ์เกิดขึ้นปี ค.ศ. 1885 โดยการนำของบิสมาร์ค (เยอรมนี) ได้จัดประชุมที่กรุงเบอร์ลินว่าด้วยการตกลงครอบครองแอฟริกาที่ประชุมตกลงว่าชาติใดที่มีดินแดนอยู่ตามชายฝั่งสามารถยึดครองพื้นที่ลึกเข้าไปได้ โดยประกาศยึดครองอย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นมาทวีปแอฟริกาถูกแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เยอรมนี โปรตุเกส การยึดครองแอฟริกาของชาวยุโรปมีข้ออ้างเพื่อการเปิดประตูการค้าให้กวางขวางทั่วภาคพื้นทวีป กับเพื่อปลดปล่อยชนเผ่าต่าง ๆ ให้เป็นอิสระจากพวกนักค้าทาสชาวอาหรับ และเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนา หลังจากนั้นทวีปแอฟริกาก็ตกเป็นอาณานิคมชาวยุโรปเกือบหมดสิ้น ยกเว้นเอธิโอเปียกับไลบีเรีย

ผลของการเข้าครอบครองในทวีปแอฟริกา
    การเข้าครอบครองโดยไม่คำนึงถึงภาษาและเผ่าพันธุ์ของประชากรในพื้นที่ของชาวยุโรปก่อให้เกิดควาทุกข์ยากแก่ชาวแอฟริกัน ในด้านการดำรงชีวิต ทำไร่ เลี้ยงสัตว์แบบเดิม งานศิลปะ ปั้นรูปสำริด แกะสลักไม้และงาช้าง วาดภาพแบบพื้นเมือง การเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชาวพื้นเมืองในเรื่องของวิทยาการทันสมัย การแข่งขันทางเศรษฐกิจ กฎหมายและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน การบังคับแรงงานชาวพื้นเมืองให้สร้างถนน ขุดเหมืองแร่ ขุดดิน ด้วยเวลาการทำงานที่ยาวนานกว่าปกติ การนำเอาพืชใหม่ ๆ มาปลูก เช่น ยางพารา โกโก้ แทนที่การทำมาหากินแบบเดิม มีการกวาดต้อนเผ่าชนต่าง ๆ ไปอยู่ในบริเวณที่กำหนด ผู้ชายออกจากครอบครัวไปทำงานไกล ๆ หากขัดขืนมีโทษรุนแรง เช่น ยิงเป้า ฯลฯ
    หลังสงครามโลกครั้งที่สองประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาได้รับเอกราชแต่ประเทศที่เกิดใหม่เหล่าตามแบบฉบับของชาวตะวันตก อิทธิพลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การศึกษาแผนใหม่ ทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

จักรวรรดินิยมในทวีปเอเชีย

อินเดีย
    อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่ชาติตะวันตกมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าไปแสวงหาวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า พวกพ่อค้าชาวยุโรปพร้อมด้วยกองทหารได้ใช้กำลังเข้ายึดครองทำให้อารยธรรมที่เก่าแก่ของอินเดียได้รับความกระทบกระเทือน อินเดียเป็นประเทศที่มีรัฐต่าง ๆ มากมายแตกต่างทั้งภาษาและศาสนา ทำให้เกิดความขัดแย้งกลายเป็นจุดอ่อนให้ตะวันตกยึดครอง ปี ค.ศ. 1500 โปรตุเกสเข้ามาค้าขายและยึดเมืองกัวเป็นศูนย์กลางการค้า ต่อมาดัตซ์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เข้ามาแข่งขันกันขยายอำนาจ อังกฤษขจัดชาติยุโรปอื่น ๆ ได้ ยึดครองอินเดียศตวรรษที่ 19 เนื่องจากราชวงศ์โมกุลอ่อนแอ โยใช้กองทหารซีปอย ซึ่งเป็นกองกำลังชาวอินเดียที่คุ้มครองผลประโยชน์แก่บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเป็นกองทหารที่มีประสิทธิภาพ ทหารซีปอยยึดรัฐต่าง ๆ โดยอังกฤษยกดินแดนบางส่วนให้ รัฐต่าง ๆ ของอินเดียตกอยู่ในอารักขาของอังกฤษ

การเปลี่ยนแปลงของอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ
1. ด้านวัตถุ มีการสร้างถนน ทางรถไฟ ไปรษณีย์โทรเลข
2. ด้านการศึกษา จัดการศึกษาแบบตะวันตก ใช้ภาษาอังกฤษสร้างปัญญาชน
3. ด้านประชาธิปไตย ได้วางรากฐานเป็นขั้นตอน เช่น ชาวอินเดียที่มีการศึกษาสูงเลือกสมาชิกนิติบัญญัติได้ ให้บริการกิจการได้บางมณฑล และปกครองตนเองในระดับมณฑลเมื่อ ค.ศ. 1935 เปิดให้มีการเอกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1937 แต่ยกเว้นการทหารและการต่างประเทศ อย่างไรก็ตามชาวอินเดียก็ต้องการอิสรภาพ เกิดกบฏครั้งใหญ่ทำให้ชาวอินเดียรวมตัวกันได้ระดับหนึ่ง ปัญญาชนรวมตัวตั้งองค์กรคองเกรสแห่งชาติอินเดีย โดยใช้วิธีที่รุนแรงและดื้อแพ่ง ผู้นำคือ มหาตมะ คานธี นำประชาชนต่อสู้ด้วยวิธีสัตยาเคราะห์ ซึ่งถือหลักอหิงสา คือ ไม่ทำร้ายใครและอดทนประท้วงอย่างสงบ ไม่ร่วมมือกับอังกฤษ อังกฤษใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง ทำให้มุสลิมแยกตัวมาตั้งองค์กร คือสันนิบาตมุสลิม แล้วเรียกร้องขอแบ่งแยกดินแดนเป็นการแตกแยกอย่างรุนแรงระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิม เมื่ออังกฤษให้เอกราชแก่อินเดีย จึงเกิดประเทศใหม่ คือ ปากีสถานเกิดขึ้น รัฐบาลอินเดียแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้านอาหาร อาชีพ ที่อยู่อาศัย การอพยพของชาวมุสลิม การจราจลขับไล่คนต่างศาสนา แม้ไม่ได้ผลมากนักเพราะประชากรมาก แต่ได้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและระมัดระวังไม่ยอมพึ่งพิงประเทศอื่นมากเกินไป ปัจจุบันอินเดียจัดเป็นประเทศที่มีระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร รัฐสภามี 2 สภา คือ ราชยสภา (สภาผู้แทนรัฐ) กับโลกสภา (สภาผู้แทนราษฏร)

จีน
    จีนเป็นประเทศหนึ่งที่ชาติตะวันตกต้องการเข้ามาแทรกแซง ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จีนปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การที่ราชวงศ์ชิงหรือแมนจูต้องสิ้นสุดลงก็เพราะชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซง เริ่มในปี ค.ศ. 1840 - 1842 จากสงครามฝิ่น จีนพ่ายแพ้อังกฤษจนต้องยอมทำสนธิสัญญานานกิง ทำให้เสียผลประโยชน์มากมาย เช่น ยอมเปิดเมืองท่า ยอมยกเกาะฮ่องกงให้ประเทศอังกฤษ เสียค่าปฏิกรรมสงครามฝิ่นที่ชาวอังกฤษนำเข้าไปให้ชาวจีนติดกันมาก การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ตามเมืองต่าง ๆ เช่น โรงเรียนและวัด ชาวจีนที่นับถือศาสนาคริสต์ได้รับความคุ้มครองจากชาติตะวันตก ชาวจีนส่วนหนึ่งไม่พอใจรวมตัวตั้งสมาคมลับกลุ่มนักมวย เพื่อขัดขวางและทำร้ายชาวตะวันตก พระนางซูสีไทเฮาสนับสนุนจนสามารถเข้ายึดสถานทูตต่างประเทศได้ การจลาจลนี้เรียกว่า กบฏนักมวย แต่ชาวตะวันตกก็ปราบปรามได้ และจีนต้องยอมชดใช้ค่าเสียหาย ยอมทำสัญญาให้ชาวตะวันตกมากขึ้น แต่จีนก็ไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกเพราะต่างชาติถ่วงดุลอำนาจจนไม่มีใครครอบครอบได้เด็ดขาด เช่น อังกฤษ โปรตุเกส และฝรั่งเศส
    ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงกับการที่ถูกชาติตะวันตก และญี่ปุ่น รุกรานทำให้ชาวจีนรวมตัวกันเป็นขบวนการชาตินิยม ผู้นำคือ ดร.ซุนยัตเซ็น ได้ตั้งสมาคมสันนิบาตและเผยแพร่อุดมกาณ์สู่ปัญญาชนจีน จากหลักการลัทธิไตรราษฎร์ซึ่งเป็นนโยบายปฏิวัติ 3 ประการโค่นล้มราชวงศ์แมนจู เพื่อจัดตั้งรัฐบาลประชาชนตามระบอบสาธารณรัฐ และจัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน การปฏิวัติเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 การต่อสู้มีขึ้นเล็กน้อย และซุนยัตเซ็นได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวในระบอบสาธารณรัฐที่นานกิง ขณะที่ปักกิ่งยังปกครองระบบกษัตริย์หลังจากเจรจากันจนยอมสละราชบัลลังก์ แล้วซุนยัตเซ็นก็ขอลาออก หยวนซื่อไขจากฝ่ายรัฐบาลปักกิ่งขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรก ประกาศใช้รัฐะรรมนูญชั่วคราวปี ค.ศ. 1912 แต่การปกครองช่วงนี้เป็นแบบขุนศึก จึงมีขบวนการชาตินิยมแบบใหม่ โดยหันไปนิยมมาร์กซ์ – เลนิน ภายใต้การสนับสนุนขององค์การคอมมิวนิสต์จากรัสเซีย หลังจากซุนยัตเซ็นเสียชีวิต เจียงไคเช็ค ได้ปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์แต่ในที่สุดฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง ก็ได้รับชัยชนะ ค.ศ. 1949 ปกครองประเทศตามแนวทางสังคมนิยม เจียงไคเช็คและกลุ่มที่สนับสนุนจึงต้องอพยพไปตั้งมั่นที่เกาะไต้หวัน
    เมื่อเหมาเจ๋อตุงเข้ามาบริหารประเทศจีนยึดหลักการพึ่งตนเอง มีการปฏิรูปที่ดินและใช้ระบบนารวม และประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวแผนละ 5 ปี 3 ระยะ ระยะแรกเน้นการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ต่อจากนั้นเร่งการผลิตด้วยวิธีก้าวกระโดดไกล ใช้แรงงานคนพัฒนาในขอบเขตจำกัด หลังอสัญกรรมของเหมาเจ๋อตุงผู้นำคนค่อมา คือ เติ้งเสี่ยวผิง ได้ใช้นโยบายสี่ทันสมัยเน้นความเจริญ 1. ด้านเกษตรกรรม 2. อุตสาหกรรม 3. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 4. การป้องกันประเทศ อีกทั้งใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีมากขึ้น ในด้านระดมเงินทุน กลไกตลาด การขยายการค้า จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น

ญี่ปุ่น
    ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรโบราณมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมแบบตะวันตกชาติตะวันตกเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าสู่ญี่ปุ่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เพื่อค้าขายและเผยแพร่ศาสนา แต่ผู้นำญี่ปุ่นต่อต้าน วิทยาการตะวันตกต่าง ๆ นั้นญี่ปุ่นนำเข้ามาโดยผ่านพ่อค้าชาวฮอลันดา ในสมัยที่ญี่ปุ่นปิดประเทศ เพราะโชกุนโตกูงาวะ พยายามรักษาอำนาจไว้ ญี่ปุ่นสนใจการแพทย์ ผลิตโลหะ การทำปืนใหญ่ เมื่อญี่ปุ่นถูกบีบบังคับให้เปิดประเทศจากกองทัพเรืออเมริกัน โดยนายพล แมทธิว ชี เปอร์รี่ อำนาจของโชกุนเริ่มสั่นคลอน จนเกิดการสู้รบกันในที่สุด ปี ค.ศ. 1868 จักรพรรดิมัตสุฮิโตะ เห็นว่าไม่อาจต้านทานอำนาจชาติตะวันตกได้ประกอบกับทรงมีนโยบายปรับปรุงประเทศให้สอดคล้องกับความเจริญของตะวันตกจึงย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตไปโตเกียว ญี่ปุ่นฟื้นฟูประเทศโดยนำระบบการปกครองจีน และญี่ปุ่นในอดีต รวมทั้งการปกครองแบบตะวันตกมาเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงประเทศ มีการจัดตั้งสภาบริหารขึ้น ยกเลิกการกระจายอำนาจที่เคยให้แก่แคว้นต่าง ๆ จัดตั้งกระทรวงเพื่อดูแลกิจการต่าง ๆ ด้านการคลัง การศึกษา การปกครอง สร้างระบบคมนาคมจนส่ง ปรับปรุงท่าเรือ การธนาคาร มีการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน การฟื้นฟูประเทศที่กระทำโดยจักรพรรดิ เรียกกันว่า การฟื้นฟูสมัยเมจิ ผลการฟื้นฟูประเทศนี้ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นดีขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 มีอุตสาหกรรมใหม่ที่สร้างกำไรและส่งไปขายประเทศตะวันตกจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจแข่งขันกับจีน และขยายอำนาจเหนือเกาหลีในปี ค.ศ. 1894
    ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาญี่ปุ่นได้รับการยอมรับว่ามหาอำนาจ เป็นสัมพันธมิตรกับอังกฤษ และได้ทำสงครามสู้กับรัสเซีย จนได้รับชัยชนะได้รับการยอมรับว่ามีฐานะทัดเทียมกับต่างชาติตะวันตกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กองเรือพาณิชย์ของญี่ปุ่นมีบทบาทในการขนส่งทางเรือแทนที่ยุโรป ญี่ปุ่นกลายเป็นเจ้าหนี้หลายประเทศ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นร่วมกับฝ่ายอักษะ ซึ่งมีเยอรมันและอิตาลีเป็นแนวร่วม แต่พ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร จึงสูญเสียดินแดนและฐานะทางเศรษฐกิจโดยที่สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอำนาจควบคุมไม่ให้ญี่ปุ่นขยายกำลังด้านทหาร ญี่ปุ่นได้เร่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่มีระบบการค้าแบบเสรี มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีจักรพรรดิเป็นประมุข รัฐสภาไดเอท ประกอบด้วยสภาสูง หรือขุนนาง และสภาผู้แทนราษฎร ญี่ปุ่นกลับมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง

การเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีวัฒนธรรมและความเจริญในความเป็นอาณาจักรต่าง ๆ ในอดีตมากมาย ตลอดจนรับอารยธรรมอินเดียและจีนเข้ามามีอิทธิพลด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การเมือง
    ชาติตะวันตกเดินทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 16 และแข่งขันการค้ากับอาหรับ โปรตุเกสตั้งสถานีการค้าที่ช่องแคบมะละกาและมาเก๊า ต่อมาอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดาก็เข้ามามีอิทธิพลเพื่อมุ่งทำการค้าและเผยแผ่ศาสนา การล่าอาณานิคมเริ่มกระทำจริงจังในศตวรรษที่ 19 – 20 ช่วงนี้ชาติตะวันตกเข้าแทรกแซงช่วยเหลือทำสงครามภายในของประเทศต่าง ๆ ในที่สุดตั้งรัฐในอารักขาแล้วเปลี่ยนจากประโยชน์ทางการค้ามาเป็นการเมืองโดยให้อาณานิคมเป็นฐานอำนาจของตน สหรัฐอเมริกายึดครองฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส ยึดครองเวียตนาม ลาว และเขมร ฮอลันดายึดครองอินโดนีเซีย อังกฤษยึดครองพม่า มลายู สิงคโปร์ และบอร์เนียวเหนือ ส่วนไทยไม่ตกเป็นอาณานิคมแต่ก็ต้องสูญเสียดินแดนจำนวนมาก
    ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เกิดขบวนการชาตินิยมขึ้นหลายประเทศพยายามดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศตน สาเหตุสำคัญเพราะเห็นญี่ปุ่นเป็นต้นแบบการพัฒนา อินเดียเป็นแบบอย่างการเรียกร้องเอกราชประกอบกับชาวพื้นเมืองมีการศึกษามากขึ้น และลัทธิมาร์กซ์ – เลนิน มีอิทธิพลหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งหลังสงครามโลกมหาอำนาจอ่อนแอในที่สุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับเอกราชอย่างไรก็ตามก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ในด้านการเมืองการปกครอง ระบบรัฐชาติแบบใหม่ที่มีประชากร รัฐบาล อาณาเขต และอำนาจอธิปไตย ตลอดจนรูปแบบการเมืองแบบตะวันตก ด้านเศรษฐกิจ เปลี่ยนจากการผลิตตามความต้องการท้องถิ่นเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดโลกและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนานาประเทศเพิ่มมากขึ้น ด้านสังคม ได้นำเอาวิทยาการตะวันตกมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อการพัฒนาประเทศ เกิดการขยายตัวของเมือง ความคล่องตัวในการคมนาคมสื่อสาร และยังเกิดการรวมตัวของคนหลายชาติหลายศาสนา เพราะเจ้าอาณานิคมนำคนต่างชาติเข้ามา เช่น นำชาวจีนเข้ามาในพม่า มาเลเซีย หลังได้รับเอกราชเกิดปัญหาพอสมควร และยกเลิกธรรมเนียมเดิมบางอย่างเพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน ปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดการค้าและกลุ่มเศรษฐกิจที่มีบทบาทในตลาดโลก คือ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ประกอบด้วยมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา โดยเฉพาะสิงคโปร์เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ แต่หลายประเทศของภูมิภาคนี้ก็ไม่เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเนื่องจากภาวการณ์เมืองภายในประเทศ เช่น กัมพูชา พม่า ลาว เป็นต้น

ความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางยุทธศาสตร์ (Strategic Iandscape) ของเอเซีย
    ตะวันออกเฉียงใต้เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนนับตั้งแต่การยุติของสงครามเย็นเป็นต้นมา แต่เดิมภูมิภาคนี้ก็เหมือนกับภูมิภาคอื่น ๆ ในยุคสงครามเย็น ที่ภูมิทัศน์ทางการเมืองปรากฏอยู่ในรูปของการแบ่งค่าย (political bloc) ระหว่างค่ายตะวันตกและค่ายตะวันออก โดยมีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นดั่ง “สถาปนิก” ที่กำหนดความเป็นไปและรูปลักษณะของภูมิทัศน์ดังกล่าว
    ภูมิทัศน์ของความเป็นค่ายเช่นนี้เห็นได้ชัดเมื่อสงครามเย็นได้คืบคลานเข้าสู่ภูมิภาคนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนในปี พ.ศ. 2492 และสงครามเกาหลีเหนือในปี พ.ศ. 2493 มาจนถึงการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟูในปี พ.ศ. 2497 อันนำไปสู่การรวมตัวของประเทศทั้งในและนอกภูมิภาคเพื่อจัดตั้งระบบการป้องกันร่วม (collective defense) ที่นำโดยสหรัฐอเมริกาในปีดังกล่าวและรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ “ซีโต้” (SEATO หรือ Southeast Asia Treaty Organization) หรือชื่อเต็มคือ องค์การสนธิสัญญาร่วมป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    สงครามเย็นในระยะเวลาต่อมาได้นำไปสู่สงครามเวียดนาม ซึ่งก็ได้กลายเป็นหนึ่งในการสงครามสำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งถ้าเดียนเบียนฟูเป็นสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจฝรั่งเศสเช่นใด เวียดนามก็เป็นสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจอเมริกาเช่นนั้น
ภูมิทัศน์ของภูมิภาคเปลี่ยนแปลงไปหลังจากความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกาในเวียดนาม แต่ก็เป็นการตอกย้ำลักษณะการแบ่งค่ายสงครามเย็น กล่าวคือ ในทางภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) ของภูมิภาคนั้น ได้เกิดเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่าปงระเทศในค่ายตะวันตกและตะวันออก ซึ่งแต่เดิมเส้นแบ่งเช่นนี้ไม่มี เพราะการต่อสู้ในเวทีสงครามเป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศของตนและประเทศที่ใช้ระบอบสังคมนิยมในการปกครองก็มีแต่เวียดนามเหนือเท่านั้น
    ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจากปี พ.ศ. 2518 จึงได้แก่การปรากฏตัวของการเป็นค่ายทางการเมืองที่ชัดเจนระหว่างกลุ่มประเทศนิยมตะวันตกหรืออาเซียน (ASEAN) และกลุ่มประเทศที่มีระบอบการปกครองเป็นแบบสังคมนิยมหรือกลุ่มอินโดจีน สหภาพเช่นนี้ทำให้การต่อสู้แข่งขันระหว่างค่ายตะวันตกและตะวันออกมีความรุนแรงขึ้นโดยปริยาย เพราะถ้าเป็นไปตามแนวคิด ทางการเมืองสหรัฐแล้ว การเปลี่ยนแปลงของประเทศในอินโดจีนทั้งสาม ย่อมจะนำไปสู่สถานการณ์ของการเปลี่ยนระบอบการปกครองของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรีของไทย ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ถูกทำนายไว้ในลักษณะของการล้มตามกันของหมากโดมิโนหรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ “ทฤษฎีโดมิโน” (Domino Theory) อันเป็นคำอธิบายถึงการเปลี่ยนภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคในมุมมองของสหรัฐอเมริกา
    เรื่องราวของการต่อสู้ทางการเมือง และทัศนะในการมองปัญหาในภูมิภาคเช่นนี้ ได้กลายเป็นปัจจัยกระตุ้นหรือเป็น “ตัวเร่งทางการเมือง” อย่างมากต่อบทบาทของมหาอำนาจในอันที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ดังกล่าว ดังจะเห็นได้ว่า บทบาทของสหรัฐอเมริกาค่อย ๆ ทวีขึ้น โดยเฉพาะหลังจากการก่อตั้งซีโต้ขึ้นแล้วพร้อม ๆ กับการถอนตัวของฝรั่งเศสออกจากเวียดนาม ซึ่งในที่สุดแล้วนำไปสู่การขยายอิทธิพลของสหรัฐในภูมิภาคนี้อย่างเห็นได้ชัดในเวลาต่อมา และก็ตามมาด้วยการเข้าสู่สงคราเวียดนาม อย่างเต็มตัวหลังจากวิกฤตการณ์อ่าวตังเกี๋ย
    ในมุมมองของมหาอำนาจตะวันออก การขยายบทบาทของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคก็กลายเป็นปัจจัยกระตุ้นต่อการที่ทั้งจีนและสหภาพโซเวียตจะเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน ประกอบกับจีนเองก็มีบทบาททางการเมืองในภูมิภาคมาแต่เดิมอยู่แล้ว
   ผลก็คือ ภูมิทัศน์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็น “สนามประลองยุทธ์” ระหว่างมหาอำนาจไปโดยปริยาย โดยมีประเทศในภูมิภาคเป็นสมาชิกและมีพื้นที่ของตนเองเป็นสนามประลองยุทธ์ในสงครามเช่นนี้ จนกระทั่งผลการต่อสู้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2518 ด้วยชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศอินโดจีนและการถอนตัวของสหรัฐอันนำไปสู่การกำเนิดภูมิทัศน์ใหม่ที่มีกลุ่มประเทศสังคมนิยมเกิดขึ้นในภูมิภาคอย่างเห็นได้ชัด
    ความซับซ้อนทางภูมิทัศน์ใหม่ไม่ใช่เป็นเพียงการแบ่งที่ชัดเจนระหว่างค่ายตะวันตกและค่ายตะวันออกเท่านั้น หากแต่ในระยะต่อมา ความขัดแย้งภายในค่ายสังคมนิยมเองก็ปะทุขึ้นจากปัญหาระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา อันนำไปสู่การบุกรุกเข้ายึดครองกัมพูชาในต้นปี พ.ศ. 2522 แต่สงครามระหว่างประเทศ สังคมนิยมในภูมิภาคหาได้สิ้นสุดลงจากการยึดครองกัมพูชาแต่อย่างใดไม่ ในทางตรงกันข้ามปัญหานี้กลับกลายเป็นสงครายืดเยื้อ และนำพาเอาประเทศต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ว่าที่จริงภูมิทัศน์แบบสงครามเย็นในภูมิภาคนี้สิ้นสุดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 แล้ว เพราะการสู้รบในกัมพูชาทำให้เส้นแบ่งค่ายแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์ของสงครามสั่งสอนของจีนต่อเวียดนามในปี พ.ศ. 2522 และความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับจีน เป็นต้น คลอดรวมถึงใน ระดับโลก คือ ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในการต่อต้านอิทธิพลของโซเวียต
    ภูมิทัศน์ของความเป็นสนามประลองยุทธ์ไม่ได้เปลี่ยนไป หากแต่มีการขยายตัวของเส้นแบ่งค่าย ความใกล้ชิดระหว่างสหรัฐกับจีน ระหว่างไทยกับจีน และระหว่างเวียดนามกับสหภาพโซเวียตเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์นี้ ทั้งยังจะเห็นได้ว่า สงครามในภูมิภาคหลังจากปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมาไม่ใช่สงครามระหว่างค่ายทุนนิยมและสังคมนิยม หากแต่เป็นความขัดแย้งในสมาชิกของค่ายสังคมนิยมที่เสมือนอยู่กับคนละนิกาย และต่างฝ่ายก็มีหัวหน้านิกายของค่ายสังคมนิยมเป็นผู้ให้การสนับสนุน ความสนับสนุนทางเศรษฐกิจและการทหาร จนสงครามกลางเมืองในกัมพูชากลายเป็นสนามประลองยุทธ์หลังสงครามเวียดนาม
    สงครามกลางเมืองของกัมพูชาเป็นอีกสงครามหนึ่งที่มีความรุนแรงและการสูญเสียอย่างมากของคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวของการสังหารโหดโดยกลุ่มเขมรแดง สำหรับประเทศไทยแล้ว การเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์จากสหภาพภูมิทัศน์ใหม่ของภูมิภาคหลังจากปี พ.ศ. 2522 ทำให้ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของไทยถูกนำไปเชื่อมโยงต่อทั้งกับพันธมิตรเก่าอย่างสหรัฐอเมริกาและกับหุ้นส่วนใหม่อย่างจีน และยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ใหม่ของไทยที่พลังอำนาจทางทหารของจีนถูกนำมาใช้ในการต่อต้านการขยายอิทธิพลของโซเวียต – เวียดนาม ซึ่งสำหรับคนไทยแล้วภัยคุกคามหลักหลังจากการยึดครองกัมพูชาของเวียดนามทำให้ไทยมีเป้าหมายโดยตรงอยู่ที่การลดระดับการคุกคามของเวียดนามลงให้ได้ ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใดก็ตาม แต่แล้วในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 สงครามเย็นทำหน้าที่เป็น “สถาปนิก” ในการจัดภูมิทัศน์ของคนในภูมิภาคก็มีอันสิ้นสุดลง โดยเริ่มจากการประกาศรวมของเยอรมนี ภูมิทัศน์ทางยุทธศาสตร์ของยุโรปเปลี่ยนแปลงไปดังสำนวนไทยที่ว่า “เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ” เพราะม่านเหล็กที่เคยขวางกั้นยุโรปออกเป็นสองส่วน ได้ถูกม้วนเก็บออกไปจากเวทีการเมืองโดยสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้จากการสิ้นอำนาจของรัฐบาลสังคมนิยมในหลาย ๆ ประเทศ และยังนำไปสู่การถอนกองทหารของสหภาพโซเวียตออกไปจากดินแดนของยุโรปตะวันออก ซึ่งครั้งยุคของสงครามเย็นประเทศเหล่านี้มีฐานะดังเป็น “รัฐบริวาร” และในทางภูมิศาสตร์พื้นที่ก็เป็นเสมือน “เขตกันชน” เพื่อขวางกั้นการรุกรานทางทหารของโลกตะวันตกที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดในยุโรป ต่อมาสงครามเย็นก็สิ้นสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ด้วยและความเป็นค่ายทางการเมืองก็ได้ยุติลงโดยสิ้นเชิงเมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยมีฐานะเป็น “คู่ต่อสู้” โดยตรงของสงครามอุดมการณ์ในภูมิภาค อีกทั้งยังได้มีการรับเอาชาติอื่น ๆ ในภูมิภาคเข้ามาเป็นสมาชิก โดยเฉพาะในกรณีของพม่าด้วย จนเห็นได้ชัดในมิติของภูมิรัฐศาสตร์ว่าอาเซียนก็คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมนั่นเอง และอาจกล่าวได้ว่า เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อม ๆ กับการได้รับเอกราชของบรรดาอาณานิคมในภูมิภาคแล้ว เอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีเอกภาพและมีสันติภาพอย่างไม่เคยมีมาก่อน แม้จะมีปัญหาภายในของแต่ละประเทศดำรงอยู่ก็ตาม
    ภูมิทัศน์ของภูมิภาคเกิดความเปลี่ยนแปลง เมื่อติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราชเป็นประเทศใหม่ เอกราชของติมอร์ก็มีส่วนในการทำให้ชนกลุ่มน้อยที่กำลังต่อสู้กับรัฐบาลกลางของประเทศตนด้วยกำลังอาวุธมีความหวังว่า สักวันหนึ่งพวกเขาอาจจะประสบความสำเร็จในการสร้างประเทศใหม่ โดยการแยกตัวออกจากประเทศเดิม เพราะเป็นครั้งแรกที่มีประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคขึ้น นับตั้งแต่การได้รับเอกราชของประเทศอาณานิคม อีกทั้งชนกลุ่มน้อยในหลาย ๆ ส่วนล้วนแต่ต้องต่อสู้เพื่อเอกราชของตนมาก่อนที่ปัญหาติมอร์ตะวะนออกจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเสียอีก แต่ความหวังของพวกเขาอาจจะไม่ง่ายเหมือนกับสถานการณ์ในติมอร์ก็ได้ เพราะความสำเร็จของติมอร์มีปัจจัยหลาย ๆ ประการที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของสหประชาชาติ การเข้ามาแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก หรือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีผลบีบคั้นให้รัฐบาลอำนาจนิยม ขณะนั้นต้องลงจากอำนาจ
    ฉะนั้น การแยกตัวออกของชนกลุ่มน้อยในสภาวะทางการเมืองปัจจุบันอาจจะเกิดขึ้นได้ยาก และอาจนำมาซึ่งปัญหาเสถียรภาพของภูมิภาคได้ เว้นเสียแต่จะมีการสนับสนุนของมหาอำนาจอย่างมากคล้ายกับสถานการณ์ติมอร์ ปัญหานี้ยังไม่น่ามีผลมากนัก แม้จะมะสถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นในกรณีของอินโดนีเซียหรือกรณีของพม่าก็ตาม
    ความเปลี่ยนแปลงประการสำคัญของภูมิทัศน์ใหม่เกิดขึ้นอีกครั้งจากสถานการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เมื่อกลุ่มการเมืองที่มีความคิดทางศาสนาแบบจารีตนิยม (religious fundamentalism) ถูกมองว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกอร์อิดะห์ ซึ่งสหรัฐเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีสหรัฐในวันที่ 11 กันยายน คือ กลุ่มอาบูไซยัพในฟิลิปปินส์ และกลุ่มเจ.ไอ. ที่มีศูนย์กลางอยู่ในอินโดนีเซีย แต่มีเครือข่ายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค
    การขยายตัวของสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเข้าสู่ภูมิภาคเริ่มค้นเมื่อกำลังรบของสหรัฐอเมริกาถูกส่งมายังฟิลิปปินส์เพื่อจัดการกับกลุ่มอาบูไซยัพ พร้อม ๆ กับการผลักดันให้ประเด็นเรื่องนี้เป็นวาระความมั่นคงของกลุ่มอาเซียน ดังจะเห็นได้ว่า ทุกเวทีของการสัมมนาเรื่องความมั่นคงหลังจากกรณี 11 กันยายน พ.ศ. 2544 แล้วจะต้องมีเรื่องของการก่อการร้ายด้วยเสมอ และขณะเดียวกันผู้นำของอาเซียนก็ดูจะยอมรับในวาระเช่นนี้ด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ประเทศในภูมิภาคได้ยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันมากขึ้น
    ในขณะเดียวกันการก่อการร้ายก็ขยายตัวเข้ามาสู่ภูมิภาคเช่นกัน การวางระเบิดในอินโดนีเซียไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บาหลี และกรณีจาการ์ตา หรือในฟิลิปปินส์พร้อม ๆ กับการขยายเครือข่ายของกลุ่มเจ.ไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันถึงองค์ประกอบใหม่ของภูมิทัศน์ที่มีความเปลี่ยนแปลง
    ผลจากสภาพเช่นนี้ไม่ได้ทำให้ภูมิภาคเปลี่ยนสภาพจากความเป็นสนามประลองยุทธ์แต่อย่างใดหากแต่สภาพสถานการณ์ใหม่ก็นำไปสู่การมีคู่สงครามใหม่ ซึ่งเป็นกรณีระหว่างการก่อการร้ายและการต่อต้านการก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ระหว่างฝ่ายตะวันตกที่นำโดยสหรัฐและชาติพันธมิตรตะวันตกกับฝ่ายต่อต้านตะวันตกที่อยู่ในรูปของขบวนการศาสนจารีตนิยม
    การประลองยุทธครั้งใหม่นี้มีความละเอียดอ่อนมากขึ้น เพราะประเด็นมีความเกี่ยวพันกับเรื่องของศาสนาและจิตวิญญาณของศาสนาอิสลามอย่างมาก ซึ่งก็ทำให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องระมัดระวังในการดำเนินนโยบายความมั่นคง เพราะฉะนั้นแล้วอาจจะเป็นการนำพาความขัดแย้งมาสู่สังคมภายในได้โดยง่าย นอกจากนี้บทบาทของอภิมหาอำนาจเดียวของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลักษณะของ
การดำเนินนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงแบบ “เอกภาคี” หรือแบบ “อัตตนิยม” (unilateralism) ก็อาจจะส่งผลให้ภูมิทัศน์ของภูมิภาคมรความเป็นสนามรบได้ ถ้ากิจกรรมของการก่อการร้ายขยายตัวมากขึ้นและสหรัฐตัดสินใจที่จะขยายเวทีการต่อต้านการก่อการร้ายเข้าสู่ภูมิภาคนี้ด้วยมาตรการทางการทหารเช่นในฟิลิปปินส์
    อีกทั้งการแข่งขันอิทธิพลระหว่างสหรัฐกับจีนก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อภูมิทัศน์ อันทำให้เวทีในภูมิภาคนอกจากจะเป็นสนามประลองยุทธ์เรื่องของการก่อการร้ายแล้วก็ยังจะเป็นสนามแข่งขันระหว่างมหาอำนาจอีกด้วย ซึ่งจีนเองก็มีความกังวลต่อการขยายอิทธิพลอย่างมากนับตั้งแต่สหรัฐประสบความสำเร็จในการสร้างเขตอำนาจของตนในเอเชียกลางแล้ว ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยากที่จีนย่อมจะต้องจับตามองบทบาทของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างใกล้ชิด
    สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวในข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงภูมิทัศน์ของภูมิภาคซึ่งยังคงลักษณะเดิมในการเป็น “สนามประลองยุทธ์” โดยที่คู่ของการประลองก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัยอันเป็นผลมาจากการพัฒนาการทางการเมืองและยุทธศาสตร์ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค และไม่ว่าจะลงเอยเช่นไรก็ตาม รัฐและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือผู้รับผลกระทบจากการนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

พัฒนาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง ดินแดนส่วนที่อยู่ทางใต้ประเทศจีนไปจดมหาสมุทรแปซิฟิก มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านชาติพันธ์ ภาษา และศาสนา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศพม่า (เมียนม่า) ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และติมอร์ตะวันออกในอดีตดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้เป็นกึ่งกลางระหว่างโลกอารยธรรมที่เจริญแล้ว คืออารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีน โดยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นทำเลเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศในแถบเอเชียและเป็นภูมิภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ได้มีชนหลายเชื้อชาติหลายเผ่าพันธุ์ อพยพเข้ามาอยู่ในแถบนี้ จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ร่องรอยความเจริญ ได้แก่ การรู้จักทำเครื่องประดับด้วยการแกะสลัก การทำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ และปลูกข้าว
    พัฒนาการทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มขึ้นเมื่อการหลั่งไหลเข้ามาของชาวจีนและอินเดีย แต่ก่อนที่จะรับอิทธิพลจากอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเจริญอยู่แล้ว เช่น รู้จักการปลูกข้าวโดยการทดน้ำเข้านา เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วัว ความ รู้จักการใช้โลหะ และมีความชำนาญในการเดินเรือ การเข้ามาของจีนและอินเดียมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น การขยายวงการค้าจากระดับหมู่บ้านมาสู่การค้าระดับประเทศ เมื่อจีนและอินเดียได้เข้ามาติดต่อค้าขายทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า และพ่อค้าจีนและอินเดียจะเป็นผู้นำสินค้าออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง เมื่อตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 – 19
    ระบบเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนชาติตะวันตกเข้ามา คือ ระบบเศรษฐกิจที่มีเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ อุตสาหกรรมในครอบครัว และการค้าแลกเปลี่ยนสินค้า เมื่อลัทธิอาณานิคมตะวันตกแผ่ขยายเข้ามา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงกลายเป็นทางผ่านของประเทศยุโรปและอเมริกาที่ต้องการและการแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า จากอินเดีย จีน ญี่ปุ่น การผลิตทางเกษตรกรรมแบบเดิมได้ขยายตัวออกไปมากขึ้น เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก เมื่อดินแดนหลายแห่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ชนชาติที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพัฒนาการทางการเมืองการปกครองเรื่อยมาการจัดตั้งอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมหมุนเวียนกันไป เนื่องจากได้ผสมผสานอารยธรรมดั้งเดิมของตนกับอารยธรรมที่รับจากอินเดีย ส่วนจากจีนเป็นส่วนน้อย บริเวณที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดู เช่น เขมร ลาว ไทย พม่า จะได้แนวคิดแบบเทวราช คือ กษัตริย์เป็นตัวแทนของเทพเจ้านอกเหนือจากการเป็นนักรบและผู้ทำนุบำรุงการเกษตร แนวคิดแบบธรรมราชาเป็นอิทธิพลของพระพุทธศาสนา แหลมมลายูและหมู่เกาะมลายูเป็นบริเวณที่รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามใช้ระบบการปกครองแบบสุลต่าน สำหรับเวียดนามมีการปกครองระบบจักรพรรดิภายใต้อิทธิพลของลัทธิขงจื้อ
    ก่อนการแผ่ขยายลัทธิอาณานิคมเข้ามาในภูมิภาคนี้ ดินแดนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนมีอำนาจอธิปไตยของตนเองและมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เมื่อชาวตะวันตกแผ่อิทธิพลเข้ามาดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นรัฐใต้อารักขาของประเทศตะวันตก ยกเว้นประเทศไทย การจัดการปกครองในพม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ประเทศเมืองแม่เข้าปกครองโดยตรง สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกยกเลิก เมื่อประเทศเหล่านี้ได้รับเอกราชจะใช้ระบบสาธารณรับปกครอง เนื่องจากขาดตำแหน่งประมุขโดยตรงที่จะสืบเชื้อสายไปแล้ว สำหรับเวียดนาม ลาว กัมพูชา มลายู บรูไน มีลักษณะเป็นรัฐอารักขา ประเทศเมืองแม่ยินยอมให้สถาบันพระมหากษัตริย์ปกครองอยู่ต่อไป โดยเข้าควบคุมกิจการต่างประเทศ การคลัง การทหาร ส่วนประเทศไทยแม้รักษาเอกราชไว้ได้แต่ก็ต้องปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบตะวันตก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและเกิดขึ้นเองภายในประเทศ
    มหาอำนาจตะวันตกที่ปกครองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเน้นการฟื้นฟูฐานการปกครองระบอบเสรีประชาธิปไตยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะนโยบายชองสหรัฐอเมริกาในฟิลิปปินส์ และอังกฤษในมลายู กล่าวคือ การวางรากฐานสถาบันทางการเมือง การเปิดโอกาสให้ชาวพื้นเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การส่งเสริมการศึกษา การใช้รัฐธรรมนูญ เป็นต้น
    ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้ประเทศในภูมิภาคนี้ได้รับเอกราช และมีผลต่อการจัดรูปแบบการเมืองการปกครองสมัยใหม่ ส่วนใหญ่รับเอารูปแบบของประเทศทางตะวันตกมาใช้ เช่น มาเลเซียรับเอาระบบรัฐสภาของอังกฤษมาใช้ ฟิลิปปินส์รับเอาระบอบประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาใช้ ต่อมาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
    จากสภาพสังคมที่ขาดรากฐานประสบการณ์ทางการเมือง และพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่จะสร้างพลังทางการเมืองขึ้นมาได้ ทำให้กระบวนการทางการเมืองในประเทศเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินไปได้เช่นเดียวกับตะวันตก หลายประเทศใช้แนวทางสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เช่น เวียดนาม ลาว ส่วนประเทศที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็ประสบปัญหาความไม่มั่นคงของระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากผู้บริหารประเทศใช้วิถีทางการเมืองยึดครองอำนาจไว้เป็นเวลานานมาก หรือมีการปกครองโดยรัฐทหาร เช่น พม่า
    ความไม่มั่นคงของระบอบประชาธิปไตยทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ในภูมิภาคนี้ สำหรับบรูไนนั้นมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สุลต่านยังคงเป็นสถาบันหลักของสังคม ปัจจุบันภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแผนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่จะพัฒนาศักยภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างชัดเจน แต่ปัญหาที่มีมานานและยังดำรงอยู่ เช่น ปัญหาการเมืองภายในเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า ปัญหาการสู้รบภายในกัมพูชา การต่อต้านรัฐบาลซูฮาร์โตที่มากขึ้นและต่อเนื่องในอินโดนีเซีย
    ปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวกันทุกชาติในภูมิภาคภายใต้กรอบทางสถาบันเดียวกันทำให้จุดมุ่งหมายของการเป็น “อาเซียน 10” ประสบความสำเร็จ แต่ภารกิจที่รออยู่ข้างหน้า คือ การสร้างความกลมกลืนในท่าทีแนวทางนโยบายและความแตกต่างในแง่ของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ หาลู่ทางให้กลุ่มประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมมือใกล้ชิดกันในเรื่องต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม

พัฒนาการในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
    เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ ทะเลอาหรับ ทะเลแดง มหาสมุทรอินเดีย ส่วนปญ่ประชากรเป็นชาวอาหรับ นับถือศาสนาอิสลาม รากฐานเศรษฐกิจ คือ การเกษตรกรรมบริเวณลุ่มแม่น้ำ การค้าขาย ภูมิภาคนี้เป็นทางผ่านของการติดต่อค้าขายระหว่างตะวันตกและตะวันออกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ประชากรแถบนี้มีความชำนาญในการเดินเรือค้าขายติดต่อระหว่างแอฟริกาตะวันออกกับอินเดียเป็นเวลานานมาแล้ว
    ลักษณะเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ยังไม่ก้าวหน้ามากนัก อาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่มักไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง เครื่องมือการเกษตรล้าสมัย ผลผลิตต่ำ เผชิญกับการขาดแคลนน้ำ ประมาณทศวรรษที่ 2 ของ ค.ศ. 1900 เอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีการขุดพบน้ำมัน ทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความต้องการน้ำมันในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากขึ้น ประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค่าในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์กรแห่งประเทศผู้ส่งน้ำมันออกหรือโอเปก (Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC) ขึ้นในปี ค.ศ. 1960 ต่อมาได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันหลายครั้ง ประเทศสมาชิกกลายเป็นประเทศมั่งคั่ง รายได้จากการขายน้ำมันนำไปลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกมีมากขึ้นรายได้จากน้ำมันเกิดการพัฒนา แต่ปัญหาด้านความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคเป็นผลให้เศรษฐกิจไม่สามารถพัฒนาได้เท่าที่ควร ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจน้ำมันประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีการดำเนินการด้วยตนเองมากขึ้น เนื่องจากวิศวกรมีความรู้เกี่ยวกับการขุดเจาะและกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น
    เนื่องจากธุรกิจน้ำมันมิใช่แต่เพียงเจาะและกลั่นน้ำมันเท่านั้น ยังมิได้จัดการเกี่ยวกับการขนส่ง เช่น การขนส่งทางเรือ ทางท่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายประการ ประเทศทางตะวันตกจึงมีบทบาทเกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้อีกมาก ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ก็สามารถควบคุมน้ำมันและใช้น้ำมันเป็นอาวุธเพื่อบีบีบังคับประเทศต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนประเทศอิสราเอล โดยเฉพาะสงครามระหว่างอิสราเอลกับอาหรับใน ค.ศ. 1973 ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นหลายเท่าตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำไประยะหนึ่ง กรณีสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อ ค.ศ. 1991 อิรักได้ทำลายบ่อน้ำมันในคูเวตไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นไปมาก ผลที่เกิดทำให้เศรษฐกิจโลกชะงักงันไปอีกระยะหนึ่งเช่นเดียวกัน
    ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ที่เคยยากจนปัจจุบันกลับมีรายได้จากธุรกิจน้ำมันส่งผลให้ประชากรมีการอยู่ดีกินดี มีการศึกษาดี มีการสร้างงานเกิดขึ้นมากมาย จากประชากรแถบอื่น ๆ ของโลกเข้าไปขายแรงงานในรูปแบบต่าง ๆ กันเป็นจำนวนมาก

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
    ในสมัยโบราณดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นบริเวณที่ดึงดูดชนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาครอบครอง โดยพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส สภาพภูมิศาสตร์ทำให้ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้แบ่งออกเป็นนครรัฐซึ่งเป็นอิสระต่อกัน ระยะแรกเป็นกลุ่มชนที่มีอิทธิพลในการปกครองเพราะเป็นการสื่อกลางระหว่างพระเป็นเจ้าและมนุษย์ ต่อมาเมื่อนครรัฐขยายตัวอำนาจการปกครองอยู่ที่กษัตริย์เป็นหัวหน้านักรบอันเข้มแข็ง อำนาจของผู้ปกครองจะอิงกับความเชื่อทางศาสนา การนำเอาความเชื่อทางศาสนามาเสริมสร้างความชอบธรรมทางการเมืองการปกครอง เกิดระบบการปกครองแบบเทวราชา คือ ผู้ปกครองเป็นเทพเจ้าบุคคลอันศักดิ์สิทธิ์ทรงไว้ด้วยอำนาจอันมหาศาล ประชาชนต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง โดยไม่มีข้อโต้แย้ง ในภูมิภาคนี้ก็ปรากฏการปกครองแบบจักรวรรดิด้วย จักรวรรดิแรก คือ จักรวรรดิอัลคาเดียน สมัยพระเจ้าซาร์กอนที่ 1 (Sargon 1) ประมาณ 2,350 ปีก่อนคริสตกาล อาณาเขตจากชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนถึงอ่าวเปอร์เชีย
    เมื่อชนชาติเปอร์เชียเข้ามามีอำนาจในภูมิภาคนี้ ได้แบ่งระบบการบริหารปกครองขึ้นในสมัยพระเจ้าเดอไรอันที่ 1 ทรงแบ่งจักรวรรดิออกเป็นมณฑล มีข้าหลวงดูแลกิจการทุกย่างในมณฑล และมีเจ้าหน้าที่ทำงานต่างพระเนตรพระกรรณของกษัตริย์ ตรวจตราการทำงานของข้าหลวง จักรพรรดิทรงพระราชอำนาจเด็ดขาด พระบรมราชโองการคือ กฎหมายของประเทศ พสกนิกรทุกคนทั่วจักรวรรดิต้องปฏิบัติตาม ระบบการปกครองของเปอร์เซียนำความสงบสุขสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นเวลา 200 ปี เป็นแบบอย่างจักรวรรดิสมัยต่อมา เช่น มาซิโดเนีย โรมัน เป็นต้น
    การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้การปกครองจักรวรรดิออตโตของตุรกี มีสุลต่านเป็นประมุข เมื่อตุรกีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้าแทนที่บริเวณนี้ และปลดปล่อยให้เป็นอิสระหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
    จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันเนื่องจากภูมิประเทศเป็นปัจจัยกำหนดลักษณะดำเนินชีวิตและรูปแบบการปกครอง เช่น บริเวณหุบเขาจะทำการเพาะปลูก และบริเวณชายฝั่งทะเลจะทำการค้า เขตเหล่านี้จึงต้องมีระบบการปกครองที่เข้มแข็ง บริเวณที่มีภูมิประเทศแบบทะเลทรายซึ่งชุมชนมีการเคลื่อนย้ายไปมาตามแต่จะพบแหล่งอุดมสมบูรณ์เป็นครั้งคราวไป ผู้ปกครองมีลักษณะเป็นหัวหน้าเผ่าที่เป็นนักรบและการปกครองที่เข้มงวดแบบทหาร กล่าวคือ การปกครองแบบสาธารณรัฐประธานาธิบดีเป็นประมุข พบในประเทศเลบานอน อิสราเอล ซีเรีย อิรัก การปกครองแบบมีกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครจะพบในหลายประเทศมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ชีค (Sheik) เป็นตำแหน่งประมุขของประเทศคูเวต การตาร์ บาห์เรน สุลต่าน (Sultan) เป็นตำแหน่งประมุขของประเทศโอมาน อามีร์ (Amir) ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอาหรับอะมิเรตส์ และกษัตริย์ (King) เป็นตำแหน่งประมุขของชาวซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน เป็นต้น
    ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้หลังการปลดปล่อยประเทศในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหลาประการ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเขตแดนและเชื้อชาติ เช่น อิรักกับอิหร่าน อิรักกับคูเวต อิหร่านกับบาห์เรน ซาอุดิอาระเบียกับสหรัฐอาหรับอะมิเรตส์ กรณีอิหร่านกับอิรักได้ทำสงครามกันนานถึง 8 ปี (ค.ศ. 1980 – 1988) เพื่อแย่งกันครอบครองเส้นทางน้ำซัตอัลอาหรับในการออกสู่ทะเล ผลของสงครามทำให้มีการบาดเจ็บล้มตายกันเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งสหประชาชาติต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยสงครามยุติกรณีของอิรักกับคูเวตนั้น อิรักพยายามกล่าวอ้างว่าคูเวตเป็นดินแดนจังหวัดหนึ่งของอิรักจึงพยายามมีแนวคิดที่จะผนวกดินแดนของคูเวตอยู่เสมอ นอกจากนี้เส้นเขตแดนระหว่างอิรักกับคูเวตยังคาบเกี่ยวกับทุ่งน้ำมันรูไบลา ซึ่งอิรักได้กล่าวว่าคูเวตขโมยสูบน้ำมันจากทุ่งน้ำมันรูไบลาไปเป็นจำนวนมาก อิรักขอให้คูเวตชดใช้เงิน 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา แต่คูเวตไม่ปฏิบัติตามและมีปฏิกิริยา เป็นผลให้อิรักยกกองทัพเข้ายึดครองคูเวตแบบสายฟ้าแลบ องค์การสหประชาชาติโดยสหรัฐอเมริกาเข้าช่วยคูเวต ทำให้อิรักต้องถอนตัวกลับและประสบความสูญเสียอย่างหนัก นอกจากนั้นองค์การสหประชาชาติยังได้ลงโทษอิรักด้วยการควบคุมทางด้านเศรษฐกิจและจำกัดการดำเนินการทางทหารกับอิรักด้วย
    ส่วนปัญหาเกี่ยวกับเชื้อชาติด้วย ความเป็นปฏิปักษ์โดยเชื้อชาติระหว่างยิว (อิสราเอล) กับอาหรับทำให้เกิดการสู้รบระหว่างอิสราเอลกับอาหรับครั้งใหญ่ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระยะที่ยิวเริ่มจัดตั้งประเทศ การสู้รบเกิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 1947 ครั้งที่ 2 ใน ค.ศ. 1967 เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลแบอียิปต์ เรียกว่า สงคราม 6 วัน ผลของสงครามอิสราเอลเป็นฝ่ายชนะ ทั้ง ๆ ที่มีกำลังน้อยกว่าอียิปต์ ครั้งที่ 3ใน ค.ศ. 1973 เรียกว่า สงครามโยมคิปูร์ อียิปต์และซีเยร่วมกันส่งกำลังเข้าบุกอิสราเอลในวันสำคัญทางศาสนาของชาวยิว แต่อิสราเอลสามารถโต้อกองทัพของอียิปต์และซีเรียได้ และยึดที่ราบสูงโกลันและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนได้
    เรื่องการไม่มีดินแดนของชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวปาเลสไตน์และชาวเคิร์ด ทำให้เกิดความไม่สงบและการก่อการร้ายขึ้นไปทั่วประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ และภูมิภาคอื่นของโลก ได้แก่ การจี้เครื่องบินเพื่อบีบบังคับให้ปล่อยนักโทษการเมือง การใช้ระเบิดพลีชีพ ระเบิดอาคารสถานที่ของฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น (ขณะนี้ชาวปาเลสไตน์สามารถจัดตั้งประเทศได้แล้ว แต่ชาวเคิร์คยังกระจัดกระจายอยู่ในหลายประเทศ ทั้งในอิหร่าน อัฟกานิสถาน ตุรกี ยังไม่สามารถที่จะตั้งขึ้นเป็นประเทศได้จึงน่าจะทำให้ความไม่สงบในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีอยู่ต่อไป)

พัฒนาการในเอชียกลาง

เอเชียกลาง
    ภูมิประเทศเอเชียกลางค่อนข้างแห้งแล้ง ทางตอนกลางของภูมิภาคเป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Stepp) มีทะเลทรายกระจายอยู่ทั่วไป นับว่าเป็นภูมิภาคที่กว้างใหญ่แห่งหนึ่งของโลกขนาดเกือบเท่ากับประเทศอินเดียและปากีสถานรวมกัน ปัจจุบันมีประเทศอยู่จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่คาซัคสถาน คีร์กิช อุชเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน อาเซอร์ไบจาน อาเมเนีย และจอร์เจีย ในสมัยโบราณพื้นที่เอเชียกลางทางตะวันออกเฉียงใต้ มีเส้นทางการค้าขายของขบวนการคาราวานจากเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ทอดผ่าน เรียกว่า เส้นทางสายไหม (Silk Road) โดยลัดเลาะไปตามไหล่เขาและเส้นทางการค้าขายจากยุโรปมายังเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ก็จะผ่านเอเชียกลางด้วย จักรพรรดิคูซานสถาปนาเมืองซามาร์คานต์ใน ค.ศ. 50 ทำให้เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของโลก สินค้าที่ซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ และสินค้าบำรุงความสุขต่าง ๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมประเพณีด้วย
    นอกจากนั้นผู้คนในถิ่นนี้ก็จะเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ โดยเร่ร่อนไปยังทุ่งหญ้าต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาสูงก็จะต้อนสัตว์เลี้ยงขึ้นไปเลี้ยงดูในฤดูร้อนและกลับลงมาในฤดูหนาว ซึ่งอากาศหนาวจัดมีหิมะปกคลุมเป็นภูเขาน้ำแข็ง สัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกัน เช่น อูฐ จามรี คาลาคัล สำหรับพื้นที่ใช้เพาะปลูกเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบในหุบเขา ที่ราบตามริมฝั่งแม่น้ำ และตามโอเอซิสในทะเลทราย พืชที่เพาะปลูก เช่น ฝ้าย ข้าวบาเลย์ ข้าโพด แตงโม และอุตสาหกรรมการทอพรมที่มีชื่อเสียงของภูมิภาคเอเชียกลาง เป็นสินค้าที่ส่งไปขายในพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณ
    หลังจากการปฏิวัติในประเทศสหภาพโซเวียตเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมนั้น ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียกลางต่างก็เป็นสาธารณรัฐอยู่ในสหภาพโซเวียตทำให้การดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ต้องดำเนินการตามแผนงานของรัฐบาลกลาง ตั้งแต่ ค.ศ. 1920 – ค.ศ. 1991) ประเทศต่าง ๆ ทั้ง 8 ประเทศซึ่งอยู่ในสหภาพโซเวียตต้องดำเนินการตามแผนงานทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกลาง ซึ่งมีแนวความคิดที่จะเร่งรัดผลผลิตทางอุตสาหกรรม เมื่ออุตสาหกรรมเจริญแล้ว สหภาพก็จะเจริญตามไปด้วย ส่วนการผลิตนารวมทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอ เพราะผลผลิตที่ได้มิได้เป็นของตน จึงทำงานกันอย่างไม่กระตือรือร้น อีกทั้งการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเป็นจำนวนมากเพื่อนำไฟฟ้าไปใช้ ทำให้เกิดน้ำท่วมหลังเขื่อนตามหุบเขาต่าง ๆ ประชากรไม่สามารถทำการเกษตรได้ต้องอพยพเข้าไปในเมือง ทำให้อาหารและเครื่องอุปโภคไม่เพียงพอ เกิดการขาดแคลนอาหารและเครื่องอุปโภคไปทั่วสหภาพโซเวียต จนกระทั่งสหภาพโซเวียต ล่มสลายใน ค.ศ. 1991 ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียกลางจึงมีอิสระในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบจากสังคมนิยมมาเป็นประชาธิปไตย ผู้คนขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ และความคิดริเริ่ม ซึ่งขณะนี้เอเชียกลางกำลังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูและเริ่มต้นใหม่
    อย่างไรก็ตามภูมิภาคเอเชียกลางแห้งแล้ง ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม แต่ก็มีสินแร่ต่าง ๆจำนวนมาก เช่น ทองแดง ทองคำ ถ่านหิน ตะกั่ว นิเกิล สังกะสี แร่เหล็ก โซเดียมซัลเฟต น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ ส่วนโซเดียมซัลเฟตยั้นมีปริมาณมากที่สุดในโลก

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในเอเชียกลาง
    ในสมัยโบราณเอเชียกลางเป็นที่อยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่า พูดภาษาตระกูลเตอร์กิก (Turkic) และภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง เทือกเขาสูงชัน เมืองที่มีความเจริญจะอยู่ระหว่างลุ่มน้ำ เช่น อามู – ดาร์ยา ซีรี – ดาร์ยา และยังเป็นบริเวณที่เส้นทางค้าขายจากเอเชียตะวันออกผ่านมายังเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เรียกว่า เส้นทางสายไหม เมืองซามาร์คานด์ กรีกเรียกว่า มาราคานดา เป็นเมืองที่มีความเจริญมากเทียบยุคสมัยกรีกในยุดนั้น ซึ่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยกทัพมาทางตะวันออกในปี 329ก่อนคริสตกาล การปกครองดินแดนของแคว้นต่าง ๆ ในสมัยโบราณมักจะได้มาด้วยการใช้กำลังกองทัพเข้าโจมตี หากแคว้นที่ถูกโจมตีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้หรือยอมสวามิภักดิ์ก็ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแคว้นที่ชนะ เมืองสำคัญต่าง ๆ มักจะอยู่ตามเส้นทางสายไหมและเส้นทางการขายจากยุโรป ความสำคัญของเมืองต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปตามอำนาจของแคว้นต่าง ๆ ซึ่งรุ่งเรืองและเสื่อมไปตามกาลเวลา
    ดินแดนเอเชียกลางหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยึดครองแล้ว เตอร์กิกได้เข้ามายึดครองในคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาหรับได้ยึดครองและเผยแผ่ศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เจงกิสข่านชาวมองโกลได้นำกองทัพม้ายึดดินแดนได้มากมายรวมทั้งเอเชียกลางและยุโรปบางส่วนจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลงเนื่องจากอาณาจักรรัสเซียเข้มแข็งขึ้น โดยสามารถขับไล่มองโกลได้ในที่สุด ค.ศ. 1830 อาณาจักรรัสเซียเข้ามามีอำนาจในเอเชียกลาง การปกครองของซาร์แห่งสหภาพโซเวียตต่อแคว้นต่าง ๆ ซึ่งให้ปกครองแคว้นของตนเอง แต่ต้องส่งเครื่องบรรณาธิการไปถวายพระเจ้าซาร์ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แคว้นต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นมีอยู่ 8 แคว้น คือ คาซัคสถาน คีร์กิช อุชเบกิสถาน เติร์กเมริสถาน ทาจิกิสถาน อาเซอร์ไบจาน อาร์เมเนีย และจอร์เจีย
    เดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 สหภาพโซเวียตเกิดการปฏิวัติของพวกบอลเซวิค พระเจ้าซาร์และราชวงศ์ถูกสังหาร การปกครองระบบฐาร์ถูกยกเลิก และเปลี่ยนการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในระยะแรกของการปฏิวัติเตอร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน มีกลุ่มฝ่ายขวาต่อต้านโดยได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ เนื่องจากอังกฤษเกรงว่าสหภาพโซเวียตจะยึดอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่ในที่สุดกองทัพแดงของพวกเชวิคก็สามารถปราบปรามได้ทั้งหมด ประเทศในเอเชียกลางทั้ง 8 ประเทศถูกผนวกเป็นสาธารณรัฐอยู่ในสหภาพโซเวียตมีจำนวนรัฐทั้งสิ้น 15 สาธารณรัฐ
    การปกครองในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ปกครองอย่างเข้มงวดด้านเศรษฐกิจได้เร่งรัดด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลกลางจัดตั้งหน่วยงานลับ เพื่อหาข่าวผู้ที่คิดจะต่อต้านระบบสังคมนิยมจะลงโทษอย่างรุนแรง ทำให้ราษฎรหวาดกลัวไม่มีเสถียรภาพ และอิสรภาพในการดำเนินชีวิต ทำให้ประชาชนล้าหลัง แม้จะมีความเจริญด้านเทคโนโลยีแต่การผลิตก็จำกัดอยู่เฉพาะด้านอุตสาหกรรม การเกษตรและเครื่องอุปโภคไม่เพียงพอ เกิดการขาดแคลน ราษฎรต้องเข้าแถวซื้อสินค้า ทำให้เกิดความไม่พอใจทั่วไปปลายศตวรรษที่ 1980 ประธานาธิบดีมิฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้มีนโยบายปฏิรูปประเทศที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา หมายถึง การเปลี่ยนแปลง และกลาสนอสต์ หมายถึง การเปิดกว้าง ผลการดำเนินการสามารถยกเลิกสหภาพโซเวียตสังคมนิยม ค.ศ. 1991 โดยจัดการปกครองขึ้นใหม่ในรูปแบบของเครือรัฐอิสระ (The Commonweath of Independent States)

พัฒนาการในเอเชียตะวันออก

เอเชียตะวันออก เฉพาะประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้

ประเทศญี่ปุ่น
    ญี่ปุ่นในอดีตจะรับอารยธรรมจากจีนโดยผ่านเกาหลี เช่น พระพุทธศาสนา ศิลปะการวาดภาพด้วยพู่กัน การใช้ตะเกียบรับประทานอาหาร ตลอดจนการนำอักษรจีนมาใช้ควบคู่กับอักษรญี่ปุ่นที่คิดขึ้นเอง ทำให้ญี่ปุ่นมีภาษาเขียนของตนเอง การได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศอื่น ๆ จากจีนเป็นส่วนใหญ่คริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น คริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ปกครองญี่ปุ่นได้ปิดประเทศอยู่โดดเดี่ยว แต่ญี่ปุ่นก็ได้เรียนรู้เทคโนโลยีตะวันตกโดยผ่านฮอลันดาซึ่งเป็นชาติตะวันตกชาติเดี่ยวที่ญี่ปุ่นยอมติดต่อด้วย เป็นผลทำให้ราฐานที่ญี่ปุ่นปรับปรุงประเทศได้อย่างรวดเร็ว เมื่อญี่ปุ่นเปิดประเทศในสมัยต่อมาช่วงนี้ญี่ปุ่นมีความเจริญเติบโตทางการค้าและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสมัยโชกุนโตกุกาวะ
    กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อญี่ปุ่นถูกชาติตะวันตกบีบบังคับให้เปิดประเทศเป็นผลให้ญี่ปุ่นต้องมีการปฏิรูปภายในทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นได้มีการลงทุนด้านการเกษตร อุตสาหกรรม คมนาคม โดยการสร้างทางรถไฟติดต่อทั่วประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้น ไดแก่ อุตสาหกรรมทอผ้า เหมืองแร่ ปูนซีเมนต์ เบียร์ เครื่องกระเบื้องถ้วยชาม ไฟฟ้า แก๊ส
    การที่ประเทศญี่ปุ่นทำสงครามกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีนใน ค.ศ. 1894- ค.ศ. 1895 กับสหภาพโซเวียตใน ค.ศ.1904 - ค.ศ.1905 ทำให้มีความรุ่งเรืองมากขึ้น นอกจากประสบชัยชนะแล้ว ด้านเศรษฐกิจก็พัฒนาอย่างมาก ด้านปุ๋ยเคมี ไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตถ่านหิน การถลุงเหล็ก เป็นต้น ทศวรรษที่ 2 และ 3 ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นได้ขยายอิทธิพลเข้าไปยึดครองแมนจูเรีย เกาหลี ไต้หวัน ทำให้ได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของตนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และหลังสงคราม กองเรือพาณิชย์ของญี่ปุ่นได้เข้ามาแทนที่การขนส่งทางเรือของชาติในยุโรป เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวออกไปมาก ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศเจ้าหนี้
    ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สูญเสียดินแดน เศรษฐกิจของประเทศทรุดโทรม ช่วงที่สหรัฐอเมริกาปกครองญี่ปุ่นนั้นได้เข้าไปทำลายการผูกขากทางเศรษฐกิจของกลุ่มอิทธิพลในญี่ปุ่นไม่ต้องตั้งงบประมาณเพื่อใช้จ่ายด้านการทหารเพียงแต่มีกองกำลังป้องกันตนเอง ไม่อาจก่อสงครามรุกรานใครได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในเวลาต่อมา ญี่ปุ่นเร่งพัฒนาทางอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากที่ดินในการเพาะปลูกและทรัพยากรธรรมชาติมีน้อยทำให้ต้องผลิตสินค้าอุตสาหรรมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตรกรรมจากต่างประเทศ ชาวญี่ปุ่นจึงมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น
    ค.ศ. 1951 เป็นต้นมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาด้านเงินกู้ การเป็นตลาดรับซื้อและตามโครงการชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามญี่ปุ่นมีโครงการช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นกำหนดเงินช่วยเหลือเหล่านั้นต้องซื้อสินค้าญี่ปุ่น เพียงระยะเวลา 15 ปี ญี่ปุ่นสามารถเพิ่มรายได้ประชาชนมากขึ้นกว่าเดิม 50 เท่า รายได้ประชากรต่อหัวเพิ่มขึ้นกว่า 500 เท่า ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.1960 เป็นต้นมา แต่การที่ญี่ปุ่นได้เปรียบการค้าเกินดุลทุกประเทศ ทำให้บรรดาประเทศต่าง ๆ รวมตัวต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น เช่น สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการลดค่าดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลง เมื่อเทียบกับเงินเยนและเงินสกุลอื่น ๆ ทำให้เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งตัวขึ้น ฉะนั้นตั้งแต่ ค.ศ. 1980 เป็นต้นมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มซบเซา ค.ศ. 1990 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเปลี่ยนจากการพึ่งพาการส่งออกเป็นการผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศ เพราะประเทศต่าง ๆ รวมตัวต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาพลังงานชนิดอื่นทดแทนน้ำมัน การหาแหล่งน้ำมันจากหลาย ๆประเทศแทนที่จะพึ่งประเทศในกลุ่มโอเปก การลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยร่วมลงทุนกับต่างประเทศรวมทั้งให้ความช่วยเหลือก้านเงินทุน ผู้เชี่ยวชาญ การศึกษาอบรม และการให้ทุนการศึกษามากขึ้น ซึ่งความพยายามต่าง ๆ ของญี่ปุ่นเพื่อจะเป็นการชดเชยผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเยนมีราคาสูง และเพื่อเป็นการชะลอระบบเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออกให้ช้าลง
    ค.ศ. 1996 เศรษบกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัว มาตรการที่ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว คือการลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ของธาคารกลางญี่ปุ่น (เหลือเพียง 0.5 ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1995 และการเพิ่มงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 14 ล้านเยน การกระตุ้นเศรษฐกิจอีกวิธีคือ การลดค่าเงินเยนจากที่เคยมีค่าเพิ่มสูงที่สุด 79 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ลดลงเหลือ 105 – 110 ทำให้ช่วยลดแรงกดกันต่อผู้ส่งออกและลดความเร่งด่วนสำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะไปลงทุนยังต่างประเทศ เพราะต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากค่าเงินเยนสูง แต่จะเกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มมากขึ้นในญี่ปุ่น ค.ศ. 1996 อัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 3.5
    อย่างไรก็ตามสภาพการได้เปรียบทางการค้าของญี่ปุ่นทั่วโลก ทำให้เกิดความไม่พอใจจากประเทศคู่ค้า และนำไปสู่การโจมตีว่าญี่ปุ่นเป็นสัตว์เศรษฐกิจ มีการเรียกร้องข้อต่อรองกับญี่ปุ่นและต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในประเทศญี่ปุ่น
    ลักษณะภูมิประเทศของญี่ปุ่นเป็นเกาะ ทำให้การเมืองของญี่ปุ่นแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่นมีจักรพรรดิปกครองสืบต่อมาตั้งแต่จัดตั้งประเทศเมื่อประมาณ 650 ปี ก่อนคริสตกาลระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 – 19 ญี่ปุ่นตกอยู่ใต้การปกครองของตระกูลขุนนางต่าง ๆ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมีอำนาจองค์จักรพรรดิปกครองประเทศเพียงในนาม อำนาจปกครองอยู่ในหัวหน้าตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดซึ่งครองตำแหน่งเรียกว่า โชกุน
    คริสต์ศตวรรษที่ 16 ญี่ปุ่นเริมติดต่อกับชาติตะวันตกระยะเวลาหนึ่ง ด้วยความหวาดระแวงชาติตะวันตก ญี่ปุ่นจึงปิดประเทศนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 – 19 ค.ศ. 1867 พระเจ้ามัตสุฮิโตครองราชย์เป็นจักรพรรดิ ทรงเลิกตำแหน่งโชกุนและบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง เรียกว่า สมัยแมจิซึ่งเป็นสมัยที่ญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายการศาล การศึกษา ค.ศ. 1889 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดให้มีรัฐสภาไดเอต ประกอบด้วยสภาขุนนาง และสภาผู้แทนราษฎร นับเป็นการจัดตั้งสถาบันการปกครองแบบประชาธิปไตยขณะเดียวกันพระจักรพรรดิยังคบมีอำนาจในการปกครองประเทศอยู่
    การปฏิรูปสมัยเมจิ เป็นผลให้ญี่ปุ่นขยายอำนาจออกไป เช่น การทหาร ด้วยการทำสงครามกับจีน สหภาพโซเวียต แผ่อิทธิพลเข้าไปในเกาหลี หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นถูกขัดขวางการแผ่อำนาจเข้าไปในจีนจนต้องทำสงครามภายในกับจีน การรุกรานเพื่อนบ้านด้วยกำลับทหารนำประเทศญี่ปุ่น สู่ความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และอยู่ภายใต้การยึดครองของสหรัฐอเมริกา แต่ญี่ปุ่นมีรัฐบาลของตนเองภายใต้การควบคุมและบริหารประเทศตามนโยบายของสหรัฐอเมริกา
    หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกไป ญี่ปุ่นมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย สถาบันการปกครองระบอบประชาธิปไตย สถาบันการปกครองที่สำคัญ คือ รัฐสภา หรือสภาไดเอต ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและสภาที่ปรึกษา ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนทั่วประเทศ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1946 ได้ให้สิทธิสตรีเท่าเทียมบุรุษในด้านการเมือง

ประเทศเกาหลีใต้
    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีหลุดพ้นจากการปกครองของญี่ปุ่นมาอยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกายึดครองส่วนที่เป็นเกาหลีใต้ สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองส่วนที่เป็นเกาหลีเหนือ ดินแดนที่สหภาพโซเวียตยึดครองได้สถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเหาหลี ดินแดนที่สหรัฐอเมริกายึดครองสถาปนาเป็นสาธารณรัฐเกาหลี เกาหลีจึงแยกเป็น 2 ประเทศใน ค.ศ. 1950 เกาหลีเหนือส่งกำลังเข้าโจมตีเกาหลีใต้จนเกิดเป็นสงครามเกาหลีขึ้น ใน ค.ศ. 1953 มีการทำสัญญาหยุดยิง
    เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสหภาพโซเวียต เน้นอุตสาหกรรมหนักเป็นพื้นฐาน เช่น เหล็ก เครื่องจักรกล อู่ต่อเรือ เหมืองแร่ ด้านเกษตรกรรมเป็นเป้าหมายรองได้รับความช่วยเหลือจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียต ส่วนเกลาหลีใต้ได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจสมัยประธานาธิบดีปักจุงฮี ได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีขึ้น และใช้ติดต่อมาตั้งแต่ ค.ศ. 1962 – ค.ศ. 1981 การใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จมาก กล่าวคือ สามารถเพิ่มรายได้ประชาชาติ ประมาณร้อยละ 9 ต่อปี สินค้าส่งออกมีมูลค่าสูงเกือบ 200 เท่า การพัฒนาเศรษฐกิจจากการพึ่งพิงเกษตรกรรมกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่เป็นต้นแบบประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศเจริญรอยตาม
    ตั้งแต่ ค.ศ. 1963 เป็นต้นมาผลผลิตมวลรวมเพิ่มขึ้น 12 เท่า และรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น 7 เท่า ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 กลุ่มธุรกิจของกาหลีใต้ เช่น บริษัทฮุนใด แดวูห์ ซัมซุง เป็ฯต้น เป็นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ถึง 2 ใน 3 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มธุรกิจกับนักการเมือง นักธุรกิจ และข้าราชการแน่นแฟ้น มีผลสืบเนื่องทำให้เกิดปัญหาการคอร์รัปชั่น (Corruption) ที่มีอยู่สูงมากในเกาหลีใต้
    ค.ศ. 1996 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้ประสบภาวะชะลอตัว เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 6.4 อัตราเงินเฟ้อถึงร้อยละ 5.2 รัฐบาลเกาหลีใต้พยายามแก้ไขปัญหาโดยใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยี ชะลอการขึ้นเงินเดือน หาตลาดและหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ชะลอตัวสาเหตุมาจากสาเหตุภายในประเทศด้วย อันเป็นผลมาจากการสไตร์ค (Strike) ของสหภาพแรงงาน การล้มละลายของบริษัทผลิตเหล็กกล้า วิกฤตการณ์ทางการเมือง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนกับภาวะเศรษฐกิจ

ประเทศเกาหลีเหนือ
    สงครามเกาหลีได้นำความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงมาสู่เกาหลีเหนือ ผลของสงครามและการทิ้งระเบิดอย่างหนักทำให้เกาหลีเหนือสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เช่น เครื่องนุ่มห่ม เครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ และวัสดุก่อสร้าง
    การนำแผนพัฒนาเพื่อซ่อมแซมเกาหลีเหนือให้กลับคืนสู่สภาพปกติ ตั้งแต่ ค.ศ. 1954 มีระยะเวลาแต่ละแผนไม่เท่ากัน และจัดตั้งฟาร์มสหกรณ์ขึ้น โดยรัฐช่วยเหลือด้านเครื่องมือกสิกรมเงินทุน และผู้เชี่ยวชาญ การสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมให้กับเกาหลีเหนือได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต จีนคอมมิวนิสต์ เยอรมันตะวันออก โปแลนด์ โรมาเนีย เชค สโลวัก (เชโกสโลวะเกีย)
    ค.ศ. 1996 – ค.ศ. 1997 เกาหลีเหนือประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมบริเวณตอนใต้และตะวันตกของเกาหลีเหนือติดต่อกัน 2 ปี และการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเกษตร ตลอดจนโรงงานอีกด้วย
    ทางด้านสภาพภูมิศาสตร์ของเกาหลีเหนือมีพื้นที่ทำการเพาะปลูกได้น้อย จึงต้องพึ่งการนำเข้าสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารและพืชผลทางการเกษตรจึงได้หันมาปรับปรุงนโยบายด้านการเกษตรในรูปแบบของจีนและเวียตนาม และเปลี่ยนแปลงจากรูปเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ทำงานร่วมกันน้อยลง โดยเน้นประสิทธิภาพในการผลิตให้มากขึ้น ถ้าเกษตรกรทำได้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดจะได้รับส่วนแบ่งจากผลผลิต และส่วนแบ่งผลผลิตของเกษตรกร สามารถนำไปขายได้และเป็นการเริ่มตลาดเอกชนขึ้นอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของเกาหลี

ประเทศเกาหลีใต้
     มีประวัติศาสตร์ความเป็นเอกราชสืบเนื่องมาช้านาน แต่เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์อันเป็นที่ตั้งของเกาหลีถูกขนาบด้วยจัดรพรรดินิยมที่อยู่บนเกาะ เช่น ญี่ปุ่น และจักรวรรดินิยม ที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ คือ จีน และสหภาพโซเวียต สมัยจักรวรรดินิยมเกาหลีตดเป็นเป้าหมายของการแข่งขันระหว่างจีนกับญี่ปุ่น และต่อมาก็เป็นญี่ปุ่นกับสหภาพโซเวียต ในที่สุดตกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1905 โดยญี่ปุ่นได้ตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการปกครองเกาหลีแต่ยังคงให้จักรพรรดิเกาหลีครองราชย์ต่อไป
     เกาหลีได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และประสบปัญหาความแตกแยกทางการเมือง ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นเรียกว่า สงครามเกาหลี เมื่อสงครามยุติ ผลของสงครามได้นำความเสียหายอย่างมากสู่ประชาชน ทำให้เกาหลีถูกแบ่งแยกออกเป็นสองประเทศ ซึ่งต่างก็มีระบบการเมืองการปกครองที่แตกต่างกัน เกาหลีเหนือจัดรูปแบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ เกาหลีใต้ดำเนินการปกครองมาจากผู้นำทางทหาร จากนั้นมีการเลือกตั้งเสรีและปกครองกันเองโดยประธานาธิบดีคนแรกของสาธาณรัฐเกาหลีใต้ คือ ดร.ชิง มันรี แต่การบริหารประเทศได้รับความยากลำบาก หลังสงครามเกาหลีสิ้นสุดลงแล้วประเทศชาติต้องได้รับการฟื้นฟูทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ผลการพัฒนาก็ไม่รุดหน้าเกิดปัญหาว่างงาน ปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประชาชนอดอยาก ค.ศ. 1960ประชาชน นักศึกษา เดินขบวนประท้วงต่อต้านรัฐบาลประเทศเพื่อให้ประธานาธิบดีลาออก เมื่อประธานาธิบดีลาออกแล้วมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่เปลี่ยนระบบประธานาธิบดีมาเป็นระบบรัฐสภา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจบริหารเต็มที่และจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่แก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมไม่ได้ผล จนคณะนายทหารภายใต้การนำของนายพลปัก จุงฮี ทำการปฏิวัติยึดอำนาจ ค.ศ. 1961
    รัฐบาลคณะปฏิวัติได้ฟื้นฟูบูรณะประเทศ และแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกลับมาใช้ระบบประธานาธิบดีอย่างเดิมและจัดให้มีการเลือกตั้ง พลเอกปัก จุงฮี ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกการเมืองมีเสถียรภาพขึ้น และเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่น ก่อตั้งกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์แห่งเอเชียโยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาทำให้กองทัพเกาหลีใต้มีประสิทธิภาพทั้งกำลังรบและอาวุธยุทโธปกรณ์
    ค.ศ. 1972 ตามรัฐธรรมนูญประธานาธิบดีจะอยู่ในวาระเพียง 2 สมัยเท่านั้น แต่พรรคเดโมเครติค ริพับลิกัน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลได้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีมีโอกาสแข่งขันเลือกตั้งใหม่ ประธานาธิบดีปัก จุงฮีจึงเข้ามาบริหารประเทศเป็นสมัยที่ 3 ด้านนักการเมือง ฝ่ายค้านและนักศึกษาได้กล่าวโจมตีรัฐบาลเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งภัยคอมมิวนิสต์บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ ประธานาธิบดีประกาศอัยการศึกยุบสภา ยกเลิกรัฐธรรมนูญเก่า จัดร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับใหม่ เรียกรัฐธรรมนูญยูชิน ซึ่งให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีอย่างกว้างขวาง ต่อมา ค.ศ. 1979 ประธานาธิบดีปัก จุงฮี ถูกประหารชีวิต สถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในสภาวะขาดเสถียรภาพ มีการช่วงอำนาจในหมู่หทารเพื่อบริหารประเทศ จนกระทั่ง ค.ศ. 1996 ประธานาธิบดี คิม ยัง ซัม บริหารประเทศมีการฟ้องศาลรื้ดคดี นายโรห์ แดวู และนายซุน ดู ฮวาน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ข้อหาคอร์รัปชั่น (Corruption) รับสินบน ประกาศปฏิรูปเศรษฐกิจและปราบปรามปัญหาคอร์รัปชั่น (Corruption) และได้ผ่านกฎหมายแรงงานฉบับใหม่มาบังคับใช้ แต่ปัญหาก็ยังเกิดอยู่ มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลว่า กรณีอื้อฉาวบริษัทฮันโบล้มละลายไม่สามารถใช้หนี้ได้ อาจเป้ฯการเกี่ยวพันกับประธานาธิบดีหรือลูกชาย คือ นายคิม เฮียนชุน

ประเทศเกาหลีเหนือ
    หลัง ค.ศ. 1950 เกาหลีเหนือได้จัดรูปแบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มีพรรคการเมืองพรรคเดียว คือ พรรคคนงานเกาหลีเหนือ มีประธานาธิบดีเป็นตำแหน่งสูงสุด โดยปรับโครงสร้างของพรรคและร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญปี 1972 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือมีอำนาจมากขึ้น เป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร และผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ
    ระยะแรกการบริหารประเทศของเกาหลีเหนือได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ระยะหลังได้รับจากจีนคอมมิวนิสต์ ประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีเหนือ คือ คิม อิลซุง ถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1994 ผลกระทบต่อการอสัญกรรมของประธานาธิบดี คิม อิลซุง คือ สหภาพโซเวียตและจีนให้ความช่วยเหลือลดลง ผู้นำพรรคแรงงานเกาหลีแตกแยกระหว่างกันด้วย และเผชิญกับภาวการณ์ขาดแคลนด้านอาหารอย่างหนัก เพราะเกิดอุทกภัยติดต่อกัน 2 ปี ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏทางการเมือง เกาหลีเหนือ คือ การแย่งชิงอำนาจของบุคคลภายในกลุ่มผู้มีอำนาจ ทำให้การตัดสินใจที่จะดำเนินการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดภายในประเทศเชื่องช้า กลุ่มทหารและหน่วยงานด้านรักษาความปลอดภัยภายในของเกาหลีเหนือมีบทบาทและมีอิทธิพลมากที่สุด


                                                                 แบบทดสอบ

คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. อารยธรรมตะวันตกและผลการสร้างสรรค์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างไร
    ก. ด้านวัตถุเจริญรวดเร็ว                                ข. ด้านเศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็ว
    ค. ก่อให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างรวดเร็ว ง. ด้านการเมืองของตะวันตกขยายตัวรวดเร็ว
2. อารยธรรมตะวันตกแพร่ขยายสู่ดินแดนใดบ้าง
    ก. เอเชีย ยุโรป                                              ข. แอฟริกา เอเชีย
    ค. ยึดครองดินแดนที่ต้องการ                        ง. การล่าเมืองขึ้นของลัทธิพาณิชย์นิยม
3. การค้นพบดินแกนใหม่ ในศตวรรษที่ 15 ได้แก่ชาติใด
    ก. โปรตุเกส ฮอลันดา                                   ข. ฮอลันดา สเปน
    ค. สเปน ดัตช์                                                ง. โปรตุเกส สเปน
4. ศตวรรษที่ 17 ชาติตะวันตกเข้าควบคุมการค้าขายบริเวณใดบ้าง
    ก. อเมริกาเหนือ                                            ข. สุมาตรา โมลุกกะ
    ค. จีน ญี่ปุ่น                                                   ง. อเมริกาเหนือ เอเชีย
5. การค้าทาสขยายตัวรวดเร็วส่วนใหญ่ค้าขายบริเวณใดมากที่สุดในศตวรรษที่ 18
    ก. อเมริกาเหนือและใต้                                 ข. อเมริกาใต้
    ค. อเมริกากลาง                                            ง. เอเชีย
6. ประเทศที่เจริญมั่งคั่งพยายามขายให้ได้มากที่สุดและซื้อน้อยที่สุดเพื่อผลประโยชน์ทางการค้านั้นหมายถึงลัทธิใด
    ก. จักรวรรดินิยม                                           ข. จักรพรรดินิยม
    ค. พาณิชย์นิยม                                            ง. เสรีนิยม
7. การล่าอาณานิคมยุคใหม่นี้ต้องการควบคุมการปกครองและเศรษฐกิจ หมายถึงประเทศใด
    ก. อเมริกา                                                    ข. อังกฤษ
    ค. เยอรมัน                                                    ง. ญี่ปุ่น
8. ชาวยุโรปเข้าครอบครองในพื้นที่แอฟริกาก่อให้เกิดผลอย่างไรบ้าง
    ก. ความยากจน                                            ข. แรงงานต่างชาติ
    ค. ด้านการดำรงชีวิต                                    ง. การทำงานที่ยาวนานกว่าปกติ
9. เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่ชาวพื้นเมืองแอฟริกาในลักษณะใดบ้าง จากการครอบครองของชาวตะวันตก
    ก. การทำมาหากินแบบเดิม                          ข. แกะสลักไม้และงาช้าง
    ค. งานศิลปะปั้นรูปสำริด                              ง. กฎหมายและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
10. จุดอ่อนของอินเดียที่ทำให้ตะวันตกยึดครองในศตวรรษที่ 19 เนื่องมาจากสาเหตุใด
    ก. อินเดียมีรัฐต่าง ๆ มากมายแตกต่างทั้งภาษา ศาสนา กลายเป็นความขัดแย้ง
    ข. ยึดเมืองกัวเป็นศูนย์กลางการค้า
    ค. ทหารซีปอยต่อสู้กับทหารอินเดียบาดเจ็บล้มตายไปมาก
    ง. บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษมีอิทธิพลอย่างมาก
11. การต่อสู้ของผู้นำอินเดียด้วยวิธีสัตยาเคราะห์ มีวิธีการต่อสู้อย่างไร
     ก. การไม่ร่วมมือกับอังกฤษ                         ข. ใช้วิธีรุนแรงและดื้อแพ่ง
     ค. ใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง           ง. การเรียกร้องขอแบ่งแยกการปกครอง
12. วัตถุประสงค์ของการปฏิวัติในโลกตะวันตกช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตรงกับข้อใดมากที่สุด
    ก. เพื่อยกเลิกลัทธิพาณิชย์นิยม                   ข. เพื่อแก้ไขระบบการเลื่อนชั้นในสังคม
    ค. เพื่อให้ประชาชนเลือกนับถือศาสนาได้    ง. เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพ
13. ปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศจีนและอินเดียในยุคใหม่คืออะไร
    ก. การเมืองภายในขาดเสรีภาพ                   ข. ปัญหาชนกลุ่มน้อย
    ค. ปัญหาประชากรเพิ่มอย่างรวดเร็ว             ง. ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน
14. ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่างสังคมตะวันออกและตะวันตกคือเรื่องใด
    ก. สังคมตะวันออกเป็นสังคมเสรีนิยม
    ข. สังคมตะวันออกเป็นสังคมฟุ้งเฟ้อและวัตถุนิยม
    ค. สังคมตะวันออกรับอิทธิพลวัฒนธรรมจากภายนอกได้ง่าย
    ง. สังคมตะวันออกเน้นพัฒนาการด้านจิตวิญญาณและศาสนา
15. ระบบอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล่มสลายเพราะเหตุใด
    ก. การต่อสู้ของกลุ่มชาตินิยมในแต่ละประเทศ
    ข. การยึดครองของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
    ค. การเข้ามาไกล่เกลี่ยขององค์การสหประชาชาติ
    ง. การมอบเอกราชให้โดยสันติของประเทศเจ้าอาณานิคม
16. เหตุใดของสหรัฐอเมริกาจึงถอนตัวจากสงครามเวียตนาม
    ก. สหรัฐอเมริกาใช้ยุทธวิธีที่ผิด
    ข. ประชาชนอเมริกันถอนการสนับสนุน
    ค. ประชาชนเวียตนามยอมรับอุดมการณ์สังคมนิยมมากว่า
    ง. สหรัฐอเมริกาไม่ต้องการสนับสนุนรัฐบาลทหารเวียตนาม
17. จิตสำนึกทางวัฒนธรรมและความรู้สึกชาตินิยมของชาวเอเชียและแอฟริกาในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเรื่องใด
    ก. ลัทธิเผด็จการ
    ข. ลัทธิสังคมนิยม
    ค. ลัทธิจักรวรรดินิยม
    ง. ลัทธิพาณิชย์นิยม
18. สาเหตุสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานไม่ราบรื่นคือข้อใด
    ก. ความขัดแย้งทางศาสนา                             ข. ปัญหาดินแดนแคชเมียร์
    ค. ต่างฝ่ายต่างมีมหาอำนาจสนับสนุน            ง. การแข่งขันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
19. สงครามเกาหลีมีความคล้ายคลึงกับสงครามเวียตนามในประเด็นใด
    ก. การมีบทบาทของสหประชาชาติ                 ข. ความยืดเยื้อของสงคราม
    ค. การเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น               ง. การแบ่งประเทศหลังสงครามยุติ
20. ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่มีพื้นฐานมาจากปัจจัยใดมากที่สุด
    ก. การส่งเสริมศาสนา
    ข. จรรยาวิชาชีพของคนงานญี่ปุ่น
    ค. การบริหารลงทุนของบรรษัทเงินทุนที่เรียกว่า ไซบัดสึ
    ง. การที่ญี่ปุ่นไม่ต้องใช้งบการป้องกันประเทศมาก
21. ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันมีแนวโน้มในลักษณะใด
    ก. การเผชิญหน้าทางอุดมการณ์การเมือง
    ข. การทำสงครามทางเศรษฐกิจ
    ค. การแข่งขันสร้างสมอาวุธปรมาณู
    ง. การทำสงครามล้างเผ่าพันธุ์
22. ชัยชนะของญี่ปุ่นเหนือรัสเซียใน ค.ศ. 1905 มีความสำคัญด้านใดมากที่สุด
    ก. ญี่ปุ่นได้ยึดครองดินแดนรัสเซียบางส่วน
    ข. ญี่ปุ่นได้รับการยอมรับว่าเป็นชาติมหาอำนาจของโลก
    ค. ชาติตะวันตกยอมให้ญี่ปุ่นแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาค
    ง. ญี่ปุ่นกลายเป็นแรงดลใจแก่ชาติเอเชียว่ามีความสามารถเท่าเทียมชาติตะวันตก
23. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดที่ทำให้โลกตะวันตกก้าวเข้าสู่สมัยใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16
    ก. การเน้นความสำคัญของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล
    ข. การต่อสู้เพื่อความเสมอภาคของคนทุกระดับในสังคม
    ค. การแสวงหาความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ
    ง. การต่อต้านการครอบงำของศาสนจักร
24. เหตุการณ์ใดเกิดจากลัทธิก่อการร้าย
    ก. นาซีสั่งฆ่าชาวยิวในเยอรมนี
    ข. เขมรแดงสังหารหมู่ประชาชนชาวเขมร
    ค. เวียดกงลอบโจมตีทหารอเมริกันในดานัง
    ง. ชาวอาหรับหัวรุนแรงลอบสังหารประธานาธิบดีอียิปต์ที่ไคโร
25. นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในข้อใดที่ส่งผลกระทบต่อเอเชียมากที่สุดหลังสมัยประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ เป็นต้นมา
    ก. การกีดกันทางการค้าต่อประเทศกำลังพัฒนา
    ข. สิทธิมนุษยชนและทรัพย์สินทางปัญญา
    ค. การต่อต้านลัทธิก่อการร้าย
    ง. การค้าเสรี

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ แต่ขอแก้ไขข้อมูลหน่อยนะคะ

    ** ต่อมา ค.ศ. 1979 ประธานาธิบดีปัก จุงฮี ถูกประหารชีวิต **

    ปัก จุง ฮี ไม่ได้ถูกประหารชีวิตนะคะ แต่ถูกลอบสังหาร (ยิง) โดยผู้อำนวยการ KCIA (คิม แจ จูง) ขณะร่วมรับประทานอาหารมื้อเย็นด้วยกันค่ะ ไม่ได้เสียชีวิตเนื่องจากถูกประหารชีวิตค่ะ

    อ้างอิงจากหนังสือ โฮ, จอห์น ไคเชียง ; เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ แปล. การเมืองเกาหลีใต้ = Korean Politics : The Quest for democratization and economic development. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547. ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ใช้สำหรับเงินกู้ของคุณวันนี้ออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าใด ๆ และได้รับการ
    อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของคุณ 3%
    ติดต่อเราวันนี้ที่
    raphealjefferyfinance@gmail.com
    FILL สมัครขอสินเชื่อ

    ชื่อจริง:
    ประเทศ:
    สถานะ:
    โทรศัพท์:
    อายุ:
    อาชีพ:
    การกู้ยืมเงินเป็นสิ่งจำเป็น:
    ยาว:
    เว็บไซต์: raphealjefferyfinance@gmail.com

    ผบ.: นาย Rapheal

    ตอบลบ